พีนัทบอสบล็อกกลับมาแล้วครับ

พีนัทบอสบล็อกกลับมาแล้วครับ

ถั่วลิสงเป็นพืชที่ควรหมุนเวียนในระบบปลูกพืชของไทย

ยินดีต้อนรับกลับบ้าน เรื่องราวในบล็อกจะถูกจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ ร่วมสร้างชุมชนออนไลน์คุณภาพ
28 เมษายน 2553


ชื่อเรื่องมีภาษาปะกิต อ่ะครับ อย่าไปเปิดดิกชั่นนารี่นะครับ เพราะคงไม่มีคำแปล เพราะ ACMECS เป็นตัวย่อ มาจาก   Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy  เป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับอนุภูมิภาคที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ใช้ประโยชน์จากความแข็งแกร่งและความหลากหลายของทั้งห้าประเทศสมาชิกเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างสมดุล (ข้อมูลจากเวบกระทรวงการต่างประเทศ)  ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 5 ประเทศ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับ Acmecs ยาวครับ และผมก็ไม่ถนัดคุยเศรษฐศาสตร์เท่าไหร่นักคราบบบบ เอาเป็นว่าเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศที่มี ถั่วลิสงเข้าไปเกี่ยวข้องก็แล้วกัน เพราะเป็นพืชเป้าหมายที่จะนำร่องทดลองส่งเสริมปลูกในประเทศสมาชิก พี่ไทยเราก็ไปครับ ครั้งนี้ผมเพิ่งไปร่วมเป็นสักขีพยาน ในงานวันรับซื้อผลผลิตแปลงสาธิตเกษตร ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และถั่วลิสง ที่ แขวงคำม่วน สปป.ลาว เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2553 ที่ผ่านมานี่เอง แขวงคำม่วนตรงข้ามกับอำเภอเมืองนครพนมครับ โดยท่านรองผู้ว่าราชการนครพนมเป็นหัวเรือพาคณะจากฝั่งไทยไปร่วมงานเพื่อเซ็นสัญญารับซื้อผลผลิตกลับมายังฝั่งไทย ไปกันหลายคนครับ เกือบ 30 คน เดินทางโดยทางเรือ (ซึ่งกลางปี 2554 ก็ใช้รถยนต์ได้แล้วครับเพราะสะพานมิตรภาพแห่งที่ 3 จะเสร็จพอดี) ใช้เวลาเดินทางเกือบ 25 นาทีนะครับ ข้ามแม่น้ำโขงซึ่งยังพอมีน้ำที่จะให้เรือแล่นได้ และได้รับการต้อนรับแบบพี่แบบน้องจากรองเจ้าแขวงคำม่วน อ่อไปโน่นต้องใช้ภาษาต่างประเทศนะครับ ผมถนัดมากมาย...555 ฮ่วยพี่น้องผมเน๊าะ...ซึ่งสถานที่ประชุมคือกรมกสิกรรมและป่าไม้แขวงคำม่วน เข้าไปในแขวงคำม่วนไม่ไกลมากนัก เอกชนที่ไปร่วมงานมี หจก.นครพนมรุ่งเรืองการช่าง ที่เค้าส่งเสริมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และสกต. นครพนม รับหน้าเสื่อเป็นผู้ส่งเสริมถั่วลิสงครับ ซึ่งจากรายงานการปลูกที่ฝั่งซ้ายเรา ว่า ไทยสนับสนุนพันธุ์ถั่วลิสงไป 40 ไร่ครับ วิธีการปลูกคล้ายๆ อำเภอเขื่องใน ที่ผมเคยนำเสนอไปแล้วอ่ะครับ ปลูก 3-5 แถว ผลผลิตเฉลี่ยดีมากครับ เพราะพื้นที่ปลูกอยู่บอลิคำไซ ลักษณะดินเหนียวปนทราย เป็นที่นาที่ยังไม่เคยปลูกถั่วลิสงเลย ผลผลิตเฉลี่ย 300 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งถือว่าดีมากครับ สกต.ประกันราคาที่ 18 บาทต่อกิโลกรัม ถือว่าเหมาะสมครับ เกษตรกรพอใจราคารับซื้อมาก และมีแนวโน้มว่า ในฤดูกาลปลูกหน้าจะมีสมาชิกที่สนใจเข้าร่วมมากขึ้นครับ ผมถือว่าเป็นโอกาสที่ดีครับที่เราจะมีถั่วใช้ในประเทศมากขึ้น ทั้งยังเป็นการสานสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้อง ช่วยเหลือแบ่งปัน ให้อาเซียนเราเป็นผู้นำ "ถั่วลิสง" ต่อไปครับพี่น้อง



ไหนๆพูดเรื่องพันธุ์ถั่วลิสงแล้ว ขอต่ออีก  2 พันธุ์ที่ดูชื่อแล้วคงเกิดอยู่อิสานเหอะๆ นั่นคือ พันธุ์ขอนแก่น 5 และ พันธุ์ขอนแก่น 6 ซึ่งที่ผมอยากพูดถึงเพราะรูปร่างหน้าตาสองพันธุ์นี้ไม่เหมือนกันเลย แต่ไหงชื่อดั๊นคลานตามกันมา...ไล่กันที่ละพันธุ์ทีละช็อตกันเลยนะครับ
                                   ขอนแก่น 5                                                      ขอนแก่น 6
               - เฉลี่ย 2 ฝัก เส้นลายชัดเจนแบบตาข่าย          - เฉลี่ย 2 ฝัก เส้นลายเจนในแนวตรง
                 ร่องไม่ลึก
               - เมล็ดปานกลาง เยื่อหุ้มสีชมพู                        - เมล็ดโต เยื่อหุ้มสีชมพูเข้ม
               -ลำต้นสีเขียวอ่อนทรงพุ่มกว้าง                         - ลำต้นสีเขียวเข้ม(น่าจะเข้มกว่าทุกพันธุ์)
               -อายุเก็บเกี่ยว 85-115 วัน                                  - อายุเก็บเกี่ยว 105-110 วัน
               -รับรองพันธุ์ 2541                                              - รับรองพันธุ์ 2547
ทั้งสองพันธุ์พัฒนาสายพันธุ์โดยศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่นซึ่งกว่าจะได้ สายพันธุ์ที่ดีและนิ่ง นั้นอาศัยเวลามากมายครับ อย่าคิดนะครับว่าง่าย............แล้วปรมาจารย์ถั่วลิสงจริงๆ ในเมืองไทยมีไม่มากครับ โดยส่วนตัวผมชอบทั้งสองสายพันธุ์ที่ ต้านทานโรคยอดไหม้ได้ดีมาก เพราะผมทดลองปลูกร่วมกับพันธุ์อื่นๆ 2 พันธุ์นี้ไม่ค่อยเสียหายจาก โรคยอดไหม้มากนักเมื่อเทียบกับพันธุ์อื่น ๆ แต่ขอนแก่น 6 กลับเสียหายด้วยรากเน่าโคนเน่าพอสมควร แล้วขอนแก่น 6 มีจุดเด่นตรงที่ ลำต้นของเขาเขียวเข้มกว่าพันธุ์อื่นๆครับ ถ้าปลูกหลาย ๆ พันธุ์จะเห็นชัดเจน มองแล้วชื่นใจ และขนาดเมล็ดที่ไม่น่าเชื่อว่าถั่วลิสงจะเม็ด หญ่ายยยยยยยยยยยย ได้ขนาดนั้นครับ ถ้านึกภาพไม่ออก ลองเดินเข้าไป 7-11 ไปซื้อถั่วอบเกลือ ผมเรียกว่า ถั่วเปลือยอ่ะครับ มีหลายยี่ห้อ โดยเฉพาะโก๋แก่ ถั่วอบเกลือ เมล็ดขอนแก่น 6 จะมีขนาดประมาณนั้นอ่ะครับ แต่ถั่วโก๋แก่หรือทองการ์เด็นท์ ไม่ใช่ ขอนแก่น 6 นะครับ เป็นถั่วที่นำเข้าจากต่างประเทศ เพราะ ขอนแก่น 6 ไม่ค่อยมีคนนิยมปลูกเท่าไหร่ เพราะตลาดที่ไม่รองรับเท่าทีควร ส่วนขอนแก่น 5 ปลูกกันเยอะครับ ตลาดยังรองรับทั้งสดและแห้ง สามารถปลูกได้ดีทุกพื้นที่ และอยากกระซิบดังๆ ให้คนที่ครอบครองพันธุ์ ขอนแก่น 6 อยู่ในตอนนี้อย่านำไปทิ้งไหนนะครับ ผมคิดว่าแนวโน้มถั่วเมล็ดโตในไทยน่าจะดี ในปี 2554 เพราะต่างประเทศบางประเทศผลผลิตและพื้นที่ลดลงมาก จึงน่าจะเป็นโอกาสอันดีที่จะให้ความสนใจเจ้าถั่วเมล็ดโต ขอนแก่น 6 ที่เป็นน้อง ขอนแก่น 5 ตั้ง 6 ปี แต่ไหง "SIZE มันต่างกันซะ"
10 เมษายน 2553
            วันนี้ผมขอแนะนำพันธุ์ถั่วลิสงที่มีมานานแสนนานเรียกว่า "เก๋าสุด" ในบรรดาพันธุ์ถั่วลิสงสายพันธุ์ไทยซึ่งได้จากการรวบรวมพันธุ์ถั่วลิสงพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกในไทย ซึ่งที่มาคำว่า สข.38 ขอยอมรับว่าหาข้อมูลไม่ทันแต่อยากลงรูปเพราะเพิ่งถ่ายมาสดๆจากแปลงที่ผมปลูก...เหอะๆๆ  แต่จะเอามาเพิ่มเติมให้เพราะท่านผู้รู้ติดเที่ยวสงกรานต์พอดี เท่าที่มีข้อมูลคือ นำมาปลูกและคัดเลือกเปรียบเทียบผลผลิตครั้งแรกที่ สถานีกสิกรรมร้อยเอ็ด ดูชื่อแล้วน่าจะเก่ามากครับก็เก่าพอสมควร คือตั้งแต่ปี 2502 และกรมกสิกรรม ได้แนะนำพันธุ์ ในปี 2505 เอาลักษณะทั่วไป(ดูด้วยตาผมนี่ล่ะ)  ลักษณะทรงต้นเป็นทรงพุ่ม ติดฝักกระจุกที่โคนต้น ดอกจะสีเหลืองเข้ม จงอกฝักเห็นชัดเจนครับ เยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงสดใส(แก่เต็มที่) ต้องบอกว่าเยื่อหุ้มที่สีแดงทำให้ผมสนใจขึ้นมาทันที เพราะน่าจะแปรรูปแล้วสีสวย  แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า พันธุ์ สข. 38 นี้ปัจจุบันหาพันธุ์ยากมาก ผมได้พันธุ์นี้มาจาก ดร.จวงจันทร์ ดวงพัตรา ซึ่งเป็นปรมาจารย์ด้านถั่วลิสงท่านหนึ่ง ท่านหามาให้ตั้ง 1 กิโลกรัม ซึ่งผมถือว่า ไอ้ 1 กิโลกรัมนี่ล่ะคือสมบัติชาติเพราะมันเหลืออยู่แค่นี้ ไปถามกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดูซิครับ มีพันธุ์นี้รึเปล่า  อาจเพราะมีการปรับปรุงพันธุ์มามากมายหลากหลายสายพันธุ์ จนลืมไปว่า สข.38 คือสุดยอดถั่วลิสงต้ม ที่ใครได้ชิมแล้วต้องยกนิ้วให้ ดังนั้นที่ผมเอามาลงในวันนี้เพื่อบอกว่า "เรามัวแต่มองหาสิ่งที่ดีที่สุด จนลืมมองเห็นคุณค่าสิ่งที่เรามีอยู่" แต่อย่าเพิ่งตกใจว่าจะสูญพันธุ์เหมือนสัตว์ป่าคุ้มครองหลายๆตัว เพราะยังไงๆ ซะผมคงจะขยายพันธุ์ สข.38 ให้มีมากกว่านี้ จะเก็บไว้ในสต็อกถั่วลิสงในชีวิตผมต่อไป นี่ล่ะครับ "สข.38 สุดยอดถั่วลิสง"ของเรา
09 เมษายน 2553
จั่วหัวตรงๆ เพราะตอนนี้บริษัท แม่รวยการเกษตร(โก๋แก่) จำกัด จังหวัดสกลนคร  เปิดรับซื้อถั่วลิสง(เปิดตราชั่ง)แล้ว รับซื้อเฉพาะพันธุ์ไทนาน 9 นะครับ ย้ำนะครับพันธุ์ไทนาน 9  ซึ่งบริษัทได้ประกันราคาให้สมาชิก ที่ 18 บาท ต่อกิโลกรัม แต่เปิดรับซื้อถั่วเกรดเอสูงถึง 23-26 บาทเลยที่เดียว ซึ่งถือว่าราคาดีมากๆ เมื่อเทียบกับฤดูแล้งปีที่แล้ว อาจเป็นเพราะพื้นที่ปลูกที่ลดลงมากเมื่อเทียบกับปีที่ผ่าน ๆ มา เกษตรกรที่ปลูกหลังปลูกข้าวพันธุ์เบา เก็บเกี่ยวและขายไปแล้วก่อนสิ้นเดือนมีนา ฝากบอกมาว่า ได้ราคาสูงถึง 26 บาทเลยทีเดียว นั่นเพราะถั่วในช่วงดังกล่าวสามารถลดความชื้นได้ดีเพราะไม่มีฝนตก และไม่ถูกรบกวนจากโรคแมลงมากนัก ทำให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี สามารถขายผลผลิตได้ราคา สมาชิกโครงการหลายคนซึ่งผมเป็นหนึ่งในนั้น ให้ความเห็นตรงกันว่า การปลูกถั่วลิสงหลังปลูกข้าวพันธุ์เบา(ตุลาคม-กลางพฤศจิกายน)  สามารถลดปัญหาโรคแมลง และลดความชื้นได้ดีคือเก็บเกี่ยวช่วงมีนาคม แถมยังขายได้ราคาดี ถึงแม้ไม่มีผลทดลองวิจัยยืนยันก็ตาม แต่สิ่งพวกนี้บางทีอาศัยประสบการณ์ที่สามารถทำนายได้แม่นยำ ไม่แพ้หมอลักษ์....ฟันธงเหมือนกัน เหนือสิ่งอื่นใดเกษตรกรควรมีการจดบันทึกข้อมูลการปลูกไว้เพื่อเป็นข้อมูลการผลิตในฤดูถัดไป ยังไงเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวแล้ว สามารถสอบถามรายละเอียด การรับซื้อถั่วลิสงที่  042 747434-5  ชื่อบริษัทแม่รวยการเกษตร (โก๋แก่) จำกัด จังหวัดสกลนคร คร๊าบบบบบบบบบบบ
07 เมษายน 2553
วิกฤตน้ำปีนี้กระทบกับข้าวนาปรังมากพอสมควรในหลายพื้นที่ เขื่อนหลายๆเขื่อนต้องหยุดปล่อยน้ำเพื่อการเกษตร เกษตรกรก็คงต้องรับภาระ  นั่งร้องเพลง"ขาดทุน"กันแทบทุกปี ปีที่แล้วท่วม ปีนี้แล้ง คงเกิดคำถามว่า แล้วปีไหนจะพอดีซักที จะได้ลืมตาอ้าปากร้องเพลง คาราโอเกะ "กำไร" เหมือนๆอาชีพอื่นๆมั่ง คำตอบมีแล้วครับ การบริหารจัดการน้ำของไทยยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจน คือต้องแก้ทั้งระบบอ่ะครับ ดีนะครับที่ถั่วลิสงของผมเป็นพืชฤดูแล้งที่ใช้น้ำน้อย  และยังสามารถปรับปรุงดินให้ผมได้ด้วย ผมว่าปีนี้คงยิ้มได้เหมือนทุกปี ช่วงนี้เกษตรกรที่ปลูกถั่วลิสงกำลังเริ่มเก็บเกี่ยว ผมคนนึงล่ะที่กำลังเก็บเกี่ยวถั่วปีนี้โดยสรุป ถือว่าค่อนข้างดีครับ แต่ปัญหายังเจอโรคแมลงเข้าทำลายเหมือนๆทุกปีที่ผ่านมา โรคโคนเน่ายังเป็นปัญหา(เพราะตอนนี้ไม่ใช้ยาคลุก) โรคยอดไหม้ ที่มีเพลี้ยไฟเป็นพาหะยังพบอยู่ หนอนกระทู้ในแปลงผมตัวบากเอบบ.....(ตัวใหญ่) เจอเกือบทุกปีกรณีฝนทิ้งช่วง แต่โดยรวมผลลิตถือว่าดี ซึ่งราคาถั่วสดที่ซื้อเกษตรกรปลิดสดๆ ราคา 12-15 บาทเลยที่เดียว แต่ราคาดีขนาดไหนผมยังคงขายถั่วฝักแห้งอยู่ดีครับ เพราะเมื่อเทียบแล้วการตากให้แห้งรอจำหน่าย มีผลดีคือเรารอราคาได้ และถั่วสดราคาดีจะอยู่ในช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว หลังจากนั้นตลาดก็ตก ซึ่งบางทีบวก ลบ คูณ หารดูแล้ว สู้เราเสียเวลานิดหน่อยตากให้แห้ง รอจำหน่ายดีกว่า ผมเคยทดลองเปรียบเทียบน้ำหนักสดกับแห้งดูแล้ว ได้สรุปดังนี้ครับ ตากถั่ว 100 กิโลกรัม  4 แดด ความชื้นเหลือ 8 % ได้ถั่วฝักแห้ง เฉลี่ย ประมาณ 65 กิโลกรัม นั่นคือ 65 % ของนำหนักสด ซึ่งผมจะลองคำนวณคร่าวให้ดูนะครับ
                                  ถั่วสด 100 ก.ก. ราคา  12 บาท ขายได้    1200  บาท
ถั่วสดตากแห้งเหลือถั่วแห้ง    65 ก.ก. ราคา  23 บาท ขายได้    1495 บาท
เห็นไหมครับ เมื่อเทียบดีๆคิดดีๆก่อนขายผลผลิตเราจะเห็นความต่าง ที่เกิดขึ้น นี่คิดแค่ 100 ก.ก. นะครับ เอาน่าเห็นตัวเลขแล้วเกษตรกรอย่างทำท่าปวดหัวครับเพราะหากเราไม่ศึกษาเรื่องพวกนี้อาจทำให้เราตกเป็นเหยื่อของคำว่า "ขาดทุน" อยู่ร่ำไป ยังไง ๆ ซะเกษตรกรที่ปลูกถั่วลิสงปีนี้ ยังรอดูตลาดที่กำลังจะเปิดราคาหลังสงกรานต์ เพราะพื้นที่ปลูกลดน้อยลง ซึ่งพ่อค้าคงสู้ราคาดุเดือดไม่แพ้มวยคู่เอกช่อง 7 สี อย่างแน่นอนได้แต่รอ ว่าจะ "เหนื่อยกว่าเดิม รึ หายเหนื่อย" ตอนขายผลผลิต นี่ยังคงชะตากรรมเกษตรกรต่อไป