พีนัทบอสบล็อกกลับมาแล้วครับ

พีนัทบอสบล็อกกลับมาแล้วครับ

ถั่วลิสงเป็นพืชที่ควรหมุนเวียนในระบบปลูกพืชของไทย

ยินดีต้อนรับกลับบ้าน เรื่องราวในบล็อกจะถูกจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ ร่วมสร้างชุมชนออนไลน์คุณภาพ
22 กันยายน 2553

              ช่วงนี้มีเวลามานั่งเขียนบล็อกแบ่งปันเรื่องราวให้เพื่อนๆได้บ่อยและต่อเนื่องขึ้น เพราะเจ้าเทคโนโลยีที่ก้าวไกลมันอำนวยความสะดวกมากขึ้นเรื่อยๆๆนั่นเอง ผมขอขอบคุณเพื่อนๆที่เมล์มาสอบถามเรื่องราวต่างๆมากมาย จากที่ต่างๆๆกัน ยังไงต้องออกตัวก่อนว่า นานๆทีผมมีโอกาสมานั่ง เชคเมล์อาจตอบล่าช้าไปบ้าง ไม่ว่ากันนะครับ เรื่องราววันนี้ขอเจาะแหล่งถั่ว ฤดูฝนที่ผมผ่านมาผ่านไปบ่อยๆๆ กับสองจังหวัดที่ขึ้นชื่อว่า เป็นเซียนถั่วลิสงในภาคอิสานเลยทีเดียว  ร้อยเอ็ดขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนทุ่งกุลาร้องไห้ในอดีตแต่ปัจจุบัน กลายเป็นแหล่งข้าวหอมมะลิที่สำคัญของโลกไปแล้ว พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินทราย ปลูกอะไรๆก็มักได้ผลที่ไม่ค่อยดีนัก ถั่วลิสงก็มีปลูกเรียกว่า ประปราย แหล่งใหญ่ของจังหวัดอยู่อำเภอ หนองพอก ซึ่งมีพื้นที่ปลูกมากกว่า 1,500 ไร่ในฤดูฝน มีผลผลิตรวมกันมากกว่า 350 ตันต่อปีเลยทีเดียว ผมเดินทางผ่านไปในช่วงที่เกษตรกรส่วนใหญ่เก็บเกี่ยวผลผลิตพอดี จึงได้มีโอกาสเก็บภาพมาฝากกัน

         ส่วนวิธีการปลูก ก็ใช้รถไถเดินทางตามทำร่องแล้วหยอดเมล็ดตามร่อง เป็นแนวยาว วนรถกลับมากลบเมล็ดอีกครั้งทำวนไปจนเสร็จซึ่งประหยัดเวลาและแรงงานได้ดี เกษตรกรหลายรายใส่ปุ๋ยอัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่โดยใช้ปุ๋ยที่เหลือจาการทำนาข้าวมาใส่จึงไม่สามารถสรุปสูตรได้ครับ จากนั้นรอเก็บเกี่ยวอย่างเดียว ปัญหาที่พบในปีนี้คือ ความแห้งแล้ง ฝนไม่ตกช่วงถั่วออกดอก ทำให้ติดฝักน้อย เมล็ดลีบเป็นส่วนมาก (ไม่รู้จะช่วยยังไงเน๊าะ...ฝนไม่ตกนี่) แต่พอที่จะมีรายได้ เนื่องจากราคาขายปีนี้ขยับ ขึ้นมาจากปีที่แล้วกว่า 3 บาทต่อกิโลกรัมโดยจำหน่ายได้ กิโลกรัมละ 20-25 บาทเลยครับพี่น้อง โห ราคาดีมากๆๆ แต่หันกลับมาดูต้นทุนถึงกับยิ้มไม่ออกเพราะ ค่าแรงงานที่ใช้เก็บเกี่ยวและปลิดฝัก ต้องเรียกว่า เว่อร์ครับ แรงงาน จ้างถอนถั่ว วันละ 180-200 บาทต่อวันต่อคน  ค่าปลิดฝักคิดเป็นปี๊ป ปี๊ปละ 15-25 บาท โหหหหหหห ค่าปลิดฝักเฉลี่ยกิโลกรัมเดียวต้องจ้างปลิดฝักกว่า 3 บาทเลยอ่ะครับ การเก็บเกี่ยวหากปลิดไม่ทันก็ใช้วิธีตัดใบ มัดเป็นกระจุกแขวนด้วยไม้ไผ่ สอดไว้ใต้ถุนบ้าน สวยงามและเป็นระเบียบน่าชื่นชมภูมิปัญญาชาวบ้าน เดินมาอีกหลังต้องงง กับแท่นไม้นึกว่า พี่แกทอผ้าไหม จ๊ากกกกกกกกก เครื่องฟาดถั่ว ซึ่งเกษตรกรรายนี้บอกว่าจ้างไม่ไหวจึงดัดแปลงกี่กระตุกมาฟาดถั่วลิสงแทนซึ่งก็ประหยัดเวลาแรงงานได้ดีเยี่ยมก็โอเคนะครับ(ภาพบนสุด) ส่วนอีกจังหวัดคือ กาฬสินธุ์เมืองน้ำดำ ที่น้ำใจผู้คนใสสะอาดจริงๆต้องยอมรับ เกษตรกรยิ้มแย้มแจ่มใส และมีฐานะพอสมควรมีรถไถ รถสิบล้อ ขนส่งสินค้าเกษตร อย่างอ้อย มันสำปะหลัง ทีทำครั้งละหลายร้อย ที่ผมพูดคือ อำเภอคำม่วง ซึ่งมีไร่อ้อยเป็นส่วนมาก เกษตรกรปลูกเหมือนกันเด๊ะกับเกษตรกรจังหวัดร้อยเอ็ด เก็บเกี่ยวเหมือนกันเด๊ะ ยังกะฝาแฝด มีแตกต่างกันคือ ต้นทุน ที่คำม่วงจ้างปลิดฝักถึงปี๊ปละ 35 บาท ฟังแล้วช็อค เพราะถือว่าสูงมากผลผลิตที่นี่ถือว่า ดีมากครับเฉลี่ย ไร่ละ 280 กิโลกรัมในฤดูฝนปัญหาก็คล้ายกับที่ร้อยเอ็ดคือแห้งแล้งถั่วเมล็ดลีบ ติดฝักไม่ดี ถั่วลิสงถูกมัดจุกแขวนเต็มใต้ถุนบ้านเช่นเดียวกับร้อยเอ็ด  มีการใช้ไม้ไผ่พาดฟาดถั่วเพราะต้นทุนแรงงานแพงเกิ๊นนน  นี่คงเป็นปัญหาที่รอเทวดาสมองใสคิดเครื่องปลิดฝักที่ใช้แล้วเวิร์ค มาให้เกษตรกรผู้ปลูกถั่วลิสงที่ถามหากันแทบทุกราย ผมขอบนบาน "เทวาดา" ช่วยด้วย....อีกแรง






20 กันยายน 2553
จั่วไว้เพราะเป็นคำถามยอดฮิตในการตัดสินใจปลูกหรือทำธุรกิจที่มองเป็นเศรษฐศาสตร์มากที่สุดในกระบวนการผลิต เรื่องนี้อยากเขียนมานานมากแล้วครับ แต่รออัพเดทล่าสุดเรื่องเมล็ดพันธุ์ใน ฤดูปลูกแล้ง /2553 นี้จนแน่ใจว่านี่เป็นข้อมูลล่าสุดที่ผมเก็บมาจากเกษตรกร กว่า 500 รายในแถบภาคอีสานเกือบทุกจังหวัดครับ ซึ่งพอจะอ้างอิงในเชิงวิชาการได้ พอสรุปได้ดังนี้ครับ
      
ต้นทุนการผลิตถั่วลิสง พันธุ์ ไทนาน 9 ขนาด 1 ไร่ (ฤดูแล้ง)


ระยะปลูก 20 x 85 ซม. (ระหว่างต้น x ระหว่างแถว) ปลูก 2 แถว

1. ต้นทุนคงที่

1.1 ค่าเช่าที่ดิน 300

1.2 ค่าเสื่อมอุปกรณ์การเกษตร 150

รวม 450

2. ต้นทุนผันแปร

2.1 แรงงาน

2.1.1 เตรียมดิน 400 ไถพรวน + คราดย่อยดิน+ ยกร่อง

2.1.2 เตรียมพันธุ์และปลูก 350 กะเทาะเปลือก+ ปลูก 2 คน

2.1.3 ดูแลรักษา 500 กำจัดวัชพืช + ให้น้ำ

2.1.4 เก็บเกี่ยว 300 แรงงาน 2 คน

2.1.5 การจัดการหลังเก็บเกี่ยว 1000 ปลิดฝัก + ตากแห้ง 4 แดด

รวม 2,550 บาท

2.2 ค่าวัสดุ

2.2.1 เมล็ดพันธุ์ 750 ถั่วฝัก 40 กก.

2.2.2 ค่าปุ๋ย 750 สูตร 15-15-15(50 ก.ก.)หรือ 12-24-12(30ก.ก.)

2.2.3 ค่าสารเคมี 120 สารกำจัดแมลง โรคพืช สารกำจัดวัชพืช

2.2.4 ค่าอุปกรณ์การเกษตรและวัสดุอื่น ๆ 100

รวม 1,720

รวมต้นทุนการผลิต 4,720 บาท

ต้นทุน / กิโลกรัม 13.48 บาท

ผลผลิต (กก./ไร่) 300 กก. ราคา กก.ละ 25 บาท 7,500 บาท

กำไรสุทธิ / ไร่ 2,780

ต้นทุนคิดแบบละเอียดพอสมควร ส่วนผลผลิตที่ได้คิดเฉลี่ยจากเกษตรกรครับ ซึ่งถือว่าสูงมากนะครับ เพราะโดยเฉลี่ยไทยเราประมาณ 250 กิโลกรัม(เด่วมาอัพวิเคราะห์ต้นทุนให้นะครับ)