พีนัทบอสบล็อกกลับมาแล้วครับ

พีนัทบอสบล็อกกลับมาแล้วครับ

ถั่วลิสงเป็นพืชที่ควรหมุนเวียนในระบบปลูกพืชของไทย

ยินดีต้อนรับกลับบ้าน เรื่องราวในบล็อกจะถูกจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ ร่วมสร้างชุมชนออนไลน์คุณภาพ
09 พฤศจิกายน 2553
               เรื่องราววันนี้อาจเป็นบทความที่ยาวที่สุดในบล็อกของผมตั้งแต่เขียนมาเลย ก็ว่าได้ เพราะผมจะนำเสนอเรื่องราว การปลูกถั่วลิสง จากหลากหลายแหล่ง หลายหลายวิธีการ เรียกว่าเห็นกันหมดเปลือกในเรื่องการปลูกถั่วลิสง ในประเทศไทยกันเลย ซึ่งช่วงนี้ก็ถึงฤดูปลูกพอดี และเป็นคำถามที่เมล์มาถามผมมากที่สุดถึง 26 ฉบับ ขออนุญาตตอบพร้อมกันเลยนะครับ
                วิธีแรกเป็นวิธีการที่สุดของที่สุดซึ่งแนะนำโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ผมแอบเอามาลงแบบละเอียดที่สุด ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณข้อมูลจากท่าน ดร.จวงจันทร์ ดวงพัตรา (ชื่อนี้ผมเอ่ยถึงบ่อยมากๆ ว่างเมื่อไหร่ผมจะเอาประวัติท่านมาลงให้นะครับ) และอาจารย์ปาริชาติ พรมโชติ บุคคลที่ส่งข้อมูลดีๆให้ผมนะครับ ซึ่งผมเองกล้า การันตีจากการทดลองปลูกด้วยตัวผมเอง ในพื้นที่นาที่ผมปลูกข้าวกินทุกวันนี้ล่ะครับ ว่าได้ผลผลิตดี เหมาะแก่การเผยแพร่แก่เพื่อนๆพี่น้อง เกษตรกรทุกท่าน เริ่มกันเลยนะครับ ขออนุญาติทำเป็นหัวข้อนะครับ จะได้อ่านง่ายๆ ส่วนรูปภาพขอลงท้ายบทความแล้วกันครับ

1. การเตรียมดิน และยกร่อง
-ปรับพื้นที่ ไถตากดินก่อนปลูกอย่างน้อย 7-14 วัน เก็บเศษซากพืชที่มีอยู่ในแปลงทิ้งเพื่อทำลายเชื้อโรคและศัตรูพืชที่อยู่ในดิน ไถยกร่อง ระยะห่างระหว่างร่อง 50 ซม.

 2. การใส่ปุ๋ยรองพื้น
-หว่านปุ๋ยสูตร12-24-12 อัตรา 10 กก./ไร่ และ ปุ๋ยคอก ในอัตรา 200 กก./ไร่ โดยการหว่านกระจายให้ทั่วแปลงแล้วพรวนกลบลงดินก่อนปลูก (ทำขณะเตรียมดิน)

3. การเตรียมเมล็ดก่อนปลูก
- คลุกเมล็ดด้วยสารเคมีคาร์บอกซิน (ไวตาแวกซ์) ตามอัตราแนะนำข้างถุง (3 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม) และ
- คลุกเชื้อไรโซเบียมสำหรับถั่วลิสง อัตรา 200 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 12 กิโลกรัม (คลุกเคล้าเมล็ดถั่วลิสงด้วยน้ำหรือน้ำแป้งเปียกให้ทั่วแล้วเทเชื้อลงคลุก) เมล็ดที่คลุกเชื้อไรโซเบียมควรนำไปปลูกทันที ไม่ควรทิ้งไว้เกิน 1 วัน

4. ระยะปลูกและการปลูก
- ระหว่างแถว 50 ซม. X ระหว่างหลุม 20 ซม. (1 แถว/แปลง)
- ปลูก 2 เมล็ดต่อหลุม หยอดลึก 3-5 ซม.ล

5. การให้น้ำ
- ปลูกเสร็จให้น้ำตามร่องทันที โดยให้น้ำ 2/3 ของความสูงของร่องน้ำ หลังจากนั้นควรให้น้ำทุกๆ 15 วัน และอย่าให้ถั่วลิสงขาดน้ำในระยะออกดอก (30-40 วันหลังงอก) จนถึงระยะแทงเข็ม (60 วันหลังงอก)

6. การใส่ปุ๋ยและสารปรับปรุงดินหลังปลูก
- หว่านปุ๋ยเคมีสูตร12-24-12 อัตรา30 กก./ไร่ โดยใส่โดยวิธีการขุดฝังเป็นจุดแล้วกลบ ตรงกึ่งกลางระหว่างต้นในแถวปลูกที่ระยะ20 วัน หลังเมล็ดงอก และ
- ใส่ยิปซัมอัตรา 25 กก./ไร่ เมื่อถั่วลิสงเริ่มออกดอกโดยใส่แบบแต่งหน้า (side dressing)ข้างแถวถั่วลิสง

7. การฉีดสารคุมวัชพืชก่อนงอก
- ฉีดยาคุมวัชพืชหลังจากปลูกแล้ว โดยใช้ อะลาคลอร์(แลสโซ่)/ออกซีฟลูออเฟน (โกล 2 อี) หรือ อิมาเซทธาเพอร์ (เปอร์ซูท) ตามอัตราแนะนำ ขณะที่ฉีดพ่นสารเคมี ดินควรมีความชื้นพอสมควร

8. การควบคุมวัชพืชหลังงอก
- ดายหญ้า 2 ครั้ง คือ เมื่อถั่วอายุ 15-20 วันและ30-45 วันหลังปลูก

9. การกำจัดโรคและแมลงฉีดพ่นสารเคมีตามความจำเป็นและการระบาดของโรคและแมลง
- หากพื้นที่มีปัญหาเสี้ยนดิน และปลวก ให้ใช้ คาร์โบฟูราน (ฟูราดาน) อัตรา 6-8 กก./ไร่ ใส่ลงดินรอบโคนต้นนะระยะที่ถั่วลิสงเริ่มแทงเข็ม (40-50 วัน)
- หากพบโรคใบจุด ราสนิม ให้ฉีดพ่นสารเช่น คลอโรธาโลนิล (ดาโคนิล)
- หากพบการระบาดของหนอนชอนใบ เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน ฉีดพ่นด้วยคาร์โบซันแฟน (พอสส์ 20%EC) หรือ คาร์บาริล (เซฟวิน 85%WP) ตามอัตราที่แนะนำ ทุก 7-10 วัน ประมาณ 2-3 ครั้ง

10. การเก็บเกี่ยว
- สุ่มถอนต้นถั่วลิสงขึ้นมาดู เมื่อใกล้อายุเก็บเกี่ยวของแต่ละพันธุ์ หากมีฝักแก่ (เปลือกฝักด้านในมีสีน้ำตาลหรือดำ) ประมาณ 60-65% ของจำนวนฝักทั้งหมด เริ่มเก็บเกี่ยวได้ โดยถอนด้วยมือหรือขุด

11. การปลิดฝัก
- เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วให้ปลิดฝักทันที เลือกปลิดเฉพาะฝักที่แก่ และฝักที่ไม่เน่าเสียหาย หรืองอก

12. การตาก
- ตากฝักถั่วบนวัสดุรองรับ เช่น ผ้าใบ ตารข่ายไนล่อนชนิดตาถี่ เกลี่ยกองถั่วให้บางสม่ำเสมอ (ไม่ควรเกิน 5 ซม.) ตากประมาณ 4-6 วัน จนควรชื้นลดลงต่ำกว่า 9 % ฝักที่แห้งเมื่อเขย่าจะเกิดเสียงเมล็ดกระทบเปลือกฝัก ในขณะที่ตากระวังอย่าให้ถั่วลิสงถูกฝน

13. การเก็บรักษา
- ทำความสะอาดฝักโดยการร่อนดินออกก่อน คัดแยกฝักเสีย เก็บฝักดี และบรรจุฝักถั่วในกระสอบป่าน นำไปเก็บในโรงเก็บที่อากาศถ่ายเทได้ดี มีหลังคา ไม่มีหนู มอดและแมลงอื่นๆ ควรมีท่อนไม้หรือแคร่รองรับกระสอบที่อยู่ชั้นล่างสุด อย่าให้กระสอบสัมผัสพื้นโดยตรง

            วิธีต่อมาเป็นวิธีที่ผมเห็นปลูกกันมาก ในจังหวัดสกลนครและจังหวัดกาฬสินธุ์ เพราะเป็นวิธีที่แนะนำโดยบริษัท แม่รวยการเกษตร (โก๋แก่) จำกัด ผมเองก็ปลูกวิธีนี้มาสามปีแล้ว ได้ผลผลิต 300 - 350 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งถือว่า "เยี่ยม" วิธีหนึ่ง และผมเคยลงแล้วในบล็อกตอนต้นๆปี  แต่ขออนุญาต ลงในบทความนี้อีกทีนะครับ และมีแผ่นพับมาให้ดูด้วยครับ ตามนี้เลยครับ



17 ตุลาคม 2553
ปลายฝนต้นหนาวมาถึงแล้ว แถวบ้านเรียก  "ลมพัดข้าวดอ" เป็นสัญญาณบอกว่าเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว แต่ดูข่าววันนี้ต้องส่งแรงใจให้พี่น้องแถบ โคราชบ้านเอ็งนะครับเจอฝนกระหน่ำน้ำจากเขาใหญ่ท่วมจนเป็นเมืองใต้บาดาลไปในพริบตา ส่งใจอีกแรงใจนะครับ วันนี้เป็นอีกวันที่ผมจะลงเรื่องพันธุ์ถั่วลิสง ซึ่งผมลงมาแล้ว....กี่พันธุ์อ่ะ....ขอนแก่น 5 ขอนแก่น 6 กาฬสินธุ์ 1 และ สข.38 วันนี้ผมจะแนะนำพันธุ์ มข.60 อีกพันธุ์นะครับ เป็นอีกพันธุ์ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยท่าน ดร. อารันต์ พัฒโนทัย จากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้พัฒนาสายพันธุ์มาเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ถั่วเมล็ดโต ศ.ดร.อารันต์และทีมวิจัยจึงได้ดำเนินการพัฒนาพันธุ์ถั่วลิสงเมล็ดโตอย่างต่อเนื่อง มข 60.ก็เป็นอีกพันธุ์  อายุสั้นเท่าๆ กับพันธุ์เมล็ดเล็ก (ประมาณ 110 วัน) ลำต้นไม่เลื้อย ตั้งต้นมากๆๆ ผมเอามาปลูกถึงกับอึ้ง เพราะใบเขียวเข้ม ลำต้นตั้งตรง ติดฝักกระจุก แต่ผมทดลอง 2 ฤดูปรากฏว่า มีปัญหาเรื่องการเก็บเกี่ยว เพราะเมื่อถึงช่วงเก็บเกี่ยวหรือได้อายุ ต้นถั่วพันธุ์นี้ลำต้นจะโทรมและเปื่อยเร็วมาก ทำให้เวลาถอน โคนต้นขาดง่าย แล้วถั่วลิสงที่เก็บเกี่ยวตามอายุจะได้ถั่วอ่อน คือ 110 วันผมทดลองปลูกได้ผลเหมือนกันทั้ง 2 ครั้ง ปีนี้ผมจะทดลองอีกครั้งโดยจะเก็บข้อมูลอย่างละเอียดและนำมาเผยแพร่ให้อีกนะครับ แต่ต้องยอมรับถึงขนาดเมล็ดที่โตได้ใจเมื่อเทียบกับพันธุ์เมล็ดโตอื่น และลำต้นยังตั้งตรงดูแลกำจัดวัชพืชหรือตรวจแปลงได้ง่าย เราต้องยกนิ้วให้ผู้ปรับปรุงพันธุ์ถั่วลิสงนะครับเพราะกว่าจะมาเป็นเมล็ดพันธุ์ให้เราได้ปลูก ต้องใช้เวลาเป็นสิบๆปี ขอให้กำลังใจท่าน ศ.ดร.อารันต์และทีมวิจัย ที่ยังให้ความสำคัญและเสียสละเวลาทำเพื่อคนติดดินอย่างเรา......(ยกนิ้วให้ครับ)
22 กันยายน 2553

              ช่วงนี้มีเวลามานั่งเขียนบล็อกแบ่งปันเรื่องราวให้เพื่อนๆได้บ่อยและต่อเนื่องขึ้น เพราะเจ้าเทคโนโลยีที่ก้าวไกลมันอำนวยความสะดวกมากขึ้นเรื่อยๆๆนั่นเอง ผมขอขอบคุณเพื่อนๆที่เมล์มาสอบถามเรื่องราวต่างๆมากมาย จากที่ต่างๆๆกัน ยังไงต้องออกตัวก่อนว่า นานๆทีผมมีโอกาสมานั่ง เชคเมล์อาจตอบล่าช้าไปบ้าง ไม่ว่ากันนะครับ เรื่องราววันนี้ขอเจาะแหล่งถั่ว ฤดูฝนที่ผมผ่านมาผ่านไปบ่อยๆๆ กับสองจังหวัดที่ขึ้นชื่อว่า เป็นเซียนถั่วลิสงในภาคอิสานเลยทีเดียว  ร้อยเอ็ดขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนทุ่งกุลาร้องไห้ในอดีตแต่ปัจจุบัน กลายเป็นแหล่งข้าวหอมมะลิที่สำคัญของโลกไปแล้ว พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินทราย ปลูกอะไรๆก็มักได้ผลที่ไม่ค่อยดีนัก ถั่วลิสงก็มีปลูกเรียกว่า ประปราย แหล่งใหญ่ของจังหวัดอยู่อำเภอ หนองพอก ซึ่งมีพื้นที่ปลูกมากกว่า 1,500 ไร่ในฤดูฝน มีผลผลิตรวมกันมากกว่า 350 ตันต่อปีเลยทีเดียว ผมเดินทางผ่านไปในช่วงที่เกษตรกรส่วนใหญ่เก็บเกี่ยวผลผลิตพอดี จึงได้มีโอกาสเก็บภาพมาฝากกัน

         ส่วนวิธีการปลูก ก็ใช้รถไถเดินทางตามทำร่องแล้วหยอดเมล็ดตามร่อง เป็นแนวยาว วนรถกลับมากลบเมล็ดอีกครั้งทำวนไปจนเสร็จซึ่งประหยัดเวลาและแรงงานได้ดี เกษตรกรหลายรายใส่ปุ๋ยอัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่โดยใช้ปุ๋ยที่เหลือจาการทำนาข้าวมาใส่จึงไม่สามารถสรุปสูตรได้ครับ จากนั้นรอเก็บเกี่ยวอย่างเดียว ปัญหาที่พบในปีนี้คือ ความแห้งแล้ง ฝนไม่ตกช่วงถั่วออกดอก ทำให้ติดฝักน้อย เมล็ดลีบเป็นส่วนมาก (ไม่รู้จะช่วยยังไงเน๊าะ...ฝนไม่ตกนี่) แต่พอที่จะมีรายได้ เนื่องจากราคาขายปีนี้ขยับ ขึ้นมาจากปีที่แล้วกว่า 3 บาทต่อกิโลกรัมโดยจำหน่ายได้ กิโลกรัมละ 20-25 บาทเลยครับพี่น้อง โห ราคาดีมากๆๆ แต่หันกลับมาดูต้นทุนถึงกับยิ้มไม่ออกเพราะ ค่าแรงงานที่ใช้เก็บเกี่ยวและปลิดฝัก ต้องเรียกว่า เว่อร์ครับ แรงงาน จ้างถอนถั่ว วันละ 180-200 บาทต่อวันต่อคน  ค่าปลิดฝักคิดเป็นปี๊ป ปี๊ปละ 15-25 บาท โหหหหหหห ค่าปลิดฝักเฉลี่ยกิโลกรัมเดียวต้องจ้างปลิดฝักกว่า 3 บาทเลยอ่ะครับ การเก็บเกี่ยวหากปลิดไม่ทันก็ใช้วิธีตัดใบ มัดเป็นกระจุกแขวนด้วยไม้ไผ่ สอดไว้ใต้ถุนบ้าน สวยงามและเป็นระเบียบน่าชื่นชมภูมิปัญญาชาวบ้าน เดินมาอีกหลังต้องงง กับแท่นไม้นึกว่า พี่แกทอผ้าไหม จ๊ากกกกกกกกก เครื่องฟาดถั่ว ซึ่งเกษตรกรรายนี้บอกว่าจ้างไม่ไหวจึงดัดแปลงกี่กระตุกมาฟาดถั่วลิสงแทนซึ่งก็ประหยัดเวลาแรงงานได้ดีเยี่ยมก็โอเคนะครับ(ภาพบนสุด) ส่วนอีกจังหวัดคือ กาฬสินธุ์เมืองน้ำดำ ที่น้ำใจผู้คนใสสะอาดจริงๆต้องยอมรับ เกษตรกรยิ้มแย้มแจ่มใส และมีฐานะพอสมควรมีรถไถ รถสิบล้อ ขนส่งสินค้าเกษตร อย่างอ้อย มันสำปะหลัง ทีทำครั้งละหลายร้อย ที่ผมพูดคือ อำเภอคำม่วง ซึ่งมีไร่อ้อยเป็นส่วนมาก เกษตรกรปลูกเหมือนกันเด๊ะกับเกษตรกรจังหวัดร้อยเอ็ด เก็บเกี่ยวเหมือนกันเด๊ะ ยังกะฝาแฝด มีแตกต่างกันคือ ต้นทุน ที่คำม่วงจ้างปลิดฝักถึงปี๊ปละ 35 บาท ฟังแล้วช็อค เพราะถือว่าสูงมากผลผลิตที่นี่ถือว่า ดีมากครับเฉลี่ย ไร่ละ 280 กิโลกรัมในฤดูฝนปัญหาก็คล้ายกับที่ร้อยเอ็ดคือแห้งแล้งถั่วเมล็ดลีบ ติดฝักไม่ดี ถั่วลิสงถูกมัดจุกแขวนเต็มใต้ถุนบ้านเช่นเดียวกับร้อยเอ็ด  มีการใช้ไม้ไผ่พาดฟาดถั่วเพราะต้นทุนแรงงานแพงเกิ๊นนน  นี่คงเป็นปัญหาที่รอเทวดาสมองใสคิดเครื่องปลิดฝักที่ใช้แล้วเวิร์ค มาให้เกษตรกรผู้ปลูกถั่วลิสงที่ถามหากันแทบทุกราย ผมขอบนบาน "เทวาดา" ช่วยด้วย....อีกแรง






20 กันยายน 2553
จั่วไว้เพราะเป็นคำถามยอดฮิตในการตัดสินใจปลูกหรือทำธุรกิจที่มองเป็นเศรษฐศาสตร์มากที่สุดในกระบวนการผลิต เรื่องนี้อยากเขียนมานานมากแล้วครับ แต่รออัพเดทล่าสุดเรื่องเมล็ดพันธุ์ใน ฤดูปลูกแล้ง /2553 นี้จนแน่ใจว่านี่เป็นข้อมูลล่าสุดที่ผมเก็บมาจากเกษตรกร กว่า 500 รายในแถบภาคอีสานเกือบทุกจังหวัดครับ ซึ่งพอจะอ้างอิงในเชิงวิชาการได้ พอสรุปได้ดังนี้ครับ
      
ต้นทุนการผลิตถั่วลิสง พันธุ์ ไทนาน 9 ขนาด 1 ไร่ (ฤดูแล้ง)


ระยะปลูก 20 x 85 ซม. (ระหว่างต้น x ระหว่างแถว) ปลูก 2 แถว

1. ต้นทุนคงที่

1.1 ค่าเช่าที่ดิน 300

1.2 ค่าเสื่อมอุปกรณ์การเกษตร 150

รวม 450

2. ต้นทุนผันแปร

2.1 แรงงาน

2.1.1 เตรียมดิน 400 ไถพรวน + คราดย่อยดิน+ ยกร่อง

2.1.2 เตรียมพันธุ์และปลูก 350 กะเทาะเปลือก+ ปลูก 2 คน

2.1.3 ดูแลรักษา 500 กำจัดวัชพืช + ให้น้ำ

2.1.4 เก็บเกี่ยว 300 แรงงาน 2 คน

2.1.5 การจัดการหลังเก็บเกี่ยว 1000 ปลิดฝัก + ตากแห้ง 4 แดด

รวม 2,550 บาท

2.2 ค่าวัสดุ

2.2.1 เมล็ดพันธุ์ 750 ถั่วฝัก 40 กก.

2.2.2 ค่าปุ๋ย 750 สูตร 15-15-15(50 ก.ก.)หรือ 12-24-12(30ก.ก.)

2.2.3 ค่าสารเคมี 120 สารกำจัดแมลง โรคพืช สารกำจัดวัชพืช

2.2.4 ค่าอุปกรณ์การเกษตรและวัสดุอื่น ๆ 100

รวม 1,720

รวมต้นทุนการผลิต 4,720 บาท

ต้นทุน / กิโลกรัม 13.48 บาท

ผลผลิต (กก./ไร่) 300 กก. ราคา กก.ละ 25 บาท 7,500 บาท

กำไรสุทธิ / ไร่ 2,780

ต้นทุนคิดแบบละเอียดพอสมควร ส่วนผลผลิตที่ได้คิดเฉลี่ยจากเกษตรกรครับ ซึ่งถือว่าสูงมากนะครับ เพราะโดยเฉลี่ยไทยเราประมาณ 250 กิโลกรัม(เด่วมาอัพวิเคราะห์ต้นทุนให้นะครับ)
18 สิงหาคม 2553


สวัสดีกันอีกครั้งครับวันนี้ชีพจรลงเท้า...ท่องเที่ยวไปตามวิถีชีวิตที่ชีพจรลงเท้าผมบ่อย ซะ......เหลือเกิน เหตุเกิด ที่อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ผมเดินทางผ่านเห็นร้านค้าริมทางมีของหลายหลายชนิดแขวนกันอย่างเป็นระเบียบ ตั้งแต่ ปลาไหล ปลา หน่อไม้ป่า แต่ผมต้องสะดุดตากับถุงถั่วลิสงต้ม(ภาพประกอบ) ถั่วลิสงต้ม ต้องบอกว่า ถุงใหญ่ มากๆๆๆ ผมเป็นประเภทเห็นถั่วลิสงไม่ได้ต้องจอด ถามได้ความว่า ถุงหูหิ้ว ขนาดเขื่อง บรรจุถั่วลิสงต้มอุ่นๆๆ ราคา 10 บาท ถูกเหลือเชื่อ เพราะถั่วลิสงต้มที่ผมเคยซื้อทาน สิบบาท คงได้ครึ่งหนึ่ง ของถุงหูหิ้วนี้แน่นอน ผมถามที่มาที่ไป....เป็นถั่วลิสงที่ปลูกเอง ซึ่งตรงพื้นที่ ดังกล่าวปลูกมากเกือบทุกหลังคาเรือน ในฤดูฝนเพราะพื้นที่ตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพาน พื้นที่ส่วนใหญ่ลาดชัน ซึ่งพืชที่ผมมองเห็นได้คือ มันสำปะหลัง อ้อย และยางพารา นาข้าวมีไม่มากครับ ผมอาศัยคารมและหน้าตา(ที่ไม่ดี)555   ขอร้องให้พี่เขาพาไปดูแหล่งเพาะปลูกถั่วลิสง ซึ่งคนที่นั่น เรียกว่า "สวนถั่วลิสง"  ซึ่งห่างจากร้านค้าไปไม่ถึงกิโล ทางลูกรังซอยแคบๆๆพอที่รถผมเข้าได้เรียกว่า  ภาวนาอย่าให้มีรถสวนทางมาเลยดีกว่า ไปถึงผมต้องอึ้งกับการปลูกถั่วลิสงที่นี่ อธิบายนะครับ ถั่วลิสงที่ปลูกเป็นพันธุ์ไทนาน 9 การปลูกโดยใช้ไม้แทงหลุมห่างกัน ประมาณหนึ่งไม้บรรทัด (30 cm) หยอดสามเมล็ด ไม่ใส่ปุ๋ยไม่ใส่อะไรเลย อืมมมม....แต่ต้นถั่วลิสงสวยสมบูรณ์มากครับ เพราะเนื้อดินเป็นดินร่วนภูเขา และปลูกบนพื้นที่ที่เคยปลูกมันสำปะหลังบ้าง อ้อยบ้าง จึงพอมีปุ๋ยหลงเหลือให้ถั่วลิสง อากาศวันนี้เป็นใจกะผมมากๆๆ ทำให้ผมชื่นใจกับภาพต้นถั่วลิสงที่เขียวชูใบหรา รอเก็บเกี่ยว ผมสุ่มถอนขึ้นมาดู อายุถั่ว ราวๆ เกือบ สามเดือน เรียกว่าถอนต้มขายได้รสชาติที่ดีนะครับ แต่ผมถามพี่เจ้าของแปลงพบว่า ถั่วลิสงมุกดาหารปลูก ราวๆ เดือน ปลายๆ พฤษภาคม ซึ่งปีนี้ช่วงถั่วลิสงออกดอก ถั่วลิสงประสบปัญหาแล้งฝนทิ้งช่วง ทำให้ไม่ติดฝักเท่าที่ควร และตายบ้างบางส่วน กระทบต่อผลผลิตแน่นอน ถัดมาอีกแปลงใกล้ๆกัน ผมเห็นต้นมันสำปะหลังต้นหนึ่งกลางแปลงถั่วลิสง ตกใจว่าต้นมันสำปะหลัง มันมาเกิดกลางแปลงถั่วลิสงได้อย่างสมบูรณ์ขนาดที่ว่า น่าไถถั่วลิสงทิ้งปลูกมันสำปะหลังไปซะ เดินมาใกล้หน่อย ต๊กกกกกกกกกใจ มีป้าเกษตรกรนั่งปลิดฝักถั่วลิสง ใต้ต้นมันสำปะหลัง ซึ่งผมชอบภาพนี้มาก ได้อารมณ์ของความเป็นเกษตรกรตัวจริง แปลงนี้ผลผลิตดีมากครับ ต้นนึงติดฝักเกือบ สามสิบฝัก สำหรับถั่วลิสงฤดุฝนต้องขอบอกว่า "เยี่ยม" ซึ่งถั่วลิสงแปลงนี้แก่เต็มที่ครับ และสมบูรณ์มาก ผมทำนายว่าแปลงนี้ถั่วลิสงน่าจะมีผลผลิตไม่ต่ำกว่า 300 กิโลกรัมแห้งต่อไร่ คุ้มค่ากับการลุยฝ่าด่านเข้ามา อำเภอที่แต่ก่อนเรียกว่า "สหาย"  พื้นที่สีแดง แต่ปัจจุบันผมชอบบรรยากาศ และมิตรภาพที่ได้รับจากเกษตรกรและคนในพื้นที่ น่ารัก จริงใจ ต้องยกนิ้วให้จนต้องหาเวลากลับมาเยี่ยมเยียนที่นี่ให้ได้อีกครั้งให้จนได้.............ขอบคุณด้วยใจครับ

03 สิงหาคม 2553
     ห่างหายไปนานจนผมลืมไปว่าผมมีบล็อก ที่ต้องอัพเดท แบ่งปัน ให้เพื่อนๆ ผมดีใจที่มีคนให้ความสนใจและเมล์มาสอบถามมากมาย ขอบคุณทุก ๆ ท่าน ณ โอกาสนี้นะครับ ผมพยายามตอบทุกคำถามที่ตอบได้นะครับ ใจจริงอยากเอาคำถามมาตอบในบล็อกเพื่อให้เพื่อน ๆ ท่านอื่นได้ทราบถึงปัญหา หรือ แนวทางแก้ไขไปพร้อม ๆ กัน
     วันนี้ผมขอนำเสนอในเรื่อง ยิปซั่ม ซึ่งใคร ๆ ก็รู้ ว่าสามารถเพิ่มผลผลิตให้ถั่วลิสงได้จริง ทั้งงานวิจัย ทดลอง ต่าง ๆ แต่มุมที่ผมอยากนำเสนอคือว่า ทำไม "ยิปซั่ม" จึงเพิ่มผลผลิตถั่วลิสงได้ มีบทความมากมายนะครับ ที่มีข้อมูลเชิงวิจัย ผมขอใช้สำนวนเป็นภาษาชาวบ้านเพื่อสื่อสารให้เข้าใจง่าย ๆ แล้วกันนะครับ  ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจ ถั่วลิสง ชอบกินอะไรก่อนนะครับ ถั่วลิสงเป็นพืช ที่มีความต้องการเหมือนพืชชนิดอื่น และเราต้องเข้าใจว่าการจัดการดิน การใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมกับความต้องการของถั่วลิสงก็เป็นการเพิ่มผลผลิตเช่นกัน
    การใช้ประโยชน์จากยิปซั่มต่อการเกษตร มีหลากหลาย เช่น การใช้เพื่อปรับปรุงลักษณะทางกายภาพของดิน ใช้เพื่อลดระดับความเค็มของดิน ส่วนที่ใช้ในถั่วลิสงเป็นการให้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มธาตุอาหาร โดยการโรยข้างแถวปลูกหรือหว่านในแปลงปลูกถั่วลิสง ก่อนถั่วลิสงออกดอก หรือหลังใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 หรือประมาณ 45 วันหลังปลูก ในอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ เพราะถั่วลิสงต้องการธาตุแคลเซียมในปริมาณมาก โดยเฉพาะการปลูกถั่วลิสงในดินทราย ซึ่งถั่วลิสงจะใช้ธาตุแคลเซียมเพื่อพัฒนาคุณภาพและความสมบูรณ์ฝักและเมล็ด พูดแบบชาวบ้านคือ ทำให้ได้ถั่วเมล็ดเต็ม ไม่ลีบนั่นเอง ซึ่งผมสำรวจราคา ณ วันนี้ที่วางขายตามร้านค้าปุ๋ยวัสดุการเกษตร มีสองสามยี่ห้อ แพงสุด 25 กิโลกรัม ราคาขายปลีก 160 บาท ถูกสุด ก็ 50 กิโลกรัม ราคา 250 บาท ซึ่งดูแล้วเกรดก็ใกล้เคียงกันครับ เอาเป็นว่า 1 ไร่เรามีค่า ยิปซั่ม ประมาณ 300 บาทแล้วกันครับ ถือว่าถูกมากๆๆๆๆๆๆๆ เมื่อเทียบกับต้นทุนอื่นๆ ดังนั้นผมจึงสรุปและเหมาเอาได้เลยว่า ปลูกถั่วลิสงครั้งคราใดอย่าลืมใส่ยิปซั่มด้วยนะครับ..................... “เพราะเราคู่กัน”
03 กรกฎาคม 2553
โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นโครงการที่ประชาชน สองฝั่งลำน้ำก่ำในเขตสกลนครและนครพนม ทูลเกล้าขอความช่วยเหลือจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ให้ทรงแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมพื้นที่เพาะปลูกในฤดูฝน และขาดแคลนน้ำเพื่อทำการเกษตร รวมทั้งอุปโภคบริโภคในฤดูแล้ง  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯจึงทรงมีพระราชดำริเมื่อวันที่14, 18และ 23พฤศจิกายน2535 ให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการและทรงวางโครงการโดยพระองค์เอง ดังภาพร่างเค้าโครงพระราชทาน (แสดงในรูปนะครับ) เพื่อช่วยแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้กับราษฎรที่อาศัยอยู่บริเวณ 2 ฝั่งลำน้าก่ำ ลำน้ำก่ำเริ่มจากหนองหาน อำเภอเมือง สกลนครครับ ไหลลงแม่น้ำโขง ที่อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนมครับ ซึ่ง   ทางกรมชลประทานได้ศึกษาและกำหนดลักษณะโครงการ เป็นการก่อสร้างประตุระบายน้ำ เพื่อเก็บกักน้ำและยกระดับน้ำให้สูงขึ้น จำนวน 7 แห่ง พร้อมทั้งก่อสร้าง ระบบส่งน้ำ รวมทั้งบึงขนาดใหญ่ จำนวน 15 แห่ง พื้นที่ที่ได้รับประโยชน์ ประมาณ 165,500 ไร่ ปัจจุบันแล้วเสร็จไปแล้ว 4 แห่งมีระบบชลประทาน เป็นแบบสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 39,000 ไร่ ร่ายรายละเอียดที่มาที่ไปคร่าวๆๆนะครับ คำถามนะครับ "แล้วมันเกี่ยว'ไรกะถั่วฟะ" เอ่อเกี่ยวซิครับ เกี่ยวมากด้วย ก็เพราะคนปลูกถั่วต้องอาศัยระบบชลประทานเหล่านี้ในการปลูกถั่วลิสงและทำการเกษตร ผมบอกได้เลย หากโครงการนี้แล้วเสร็จ แหล่งถั่วลิสงแห่งใหม่ก็คือพื้นที่รอบๆๆโครงการนี้ล่ะครับ เป็นหมื่นๆไร่ ซึ่งที่ผมนำเสนอเรื่องนี้ เพราะผมมีโอกาสเดินทางเยี่ยมชมโครงการ ที่แล้วเสร็จและอยู่ระหว่างการก่อสร้าง กับท่าน ดร.วิโรจน์ อิ่มพิทักษ์ กรรมการบริหาร ธกส. และคณะทำงานหลายฝ่าย ผอจ.สกลนคร ผอจ.นครพนม เจ้าหน้าที่กรมชลประทาน หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หลายๆๆหน่วยงาน ร่วมกันลงพื้นที่ เพื่อวางนโยบาย และรับฟังความคิดเห็นจากเกษตรกร เพื่อรองรับชลประทานที่จะแล้วเสร็จ เพื่อการเกษตรกรรม ซึ่งที่แรกที่ผมไปคือ โครงการแก้มลิงหนองบึงแดง อ.เมือง จ.สกลนครซึ่งกำลังอยู่ระหว่าง ใกล้แล้วเสร็จ นั่งโต๊ะกลมคุยกันโดยท่าน ดร.วิโรจน์ เป็นกันเองมากๆครับ หนองบึงแดง เป็นหนองขนาดใหญ่ครับ ซึ่งอยู่ในหมูบ้านบึงแดง ตำบลโคกก่อง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร โครงสร้างเกือบเสร็จแล้วครับ ซึ่งได้นายกอบต.โคกก่อง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เกือบทั้งตำบลมาร่วมเสวนา ซึ่งสรุปคร่าว ๆได้ว่า ทาง ธกส. จะสนับสนุสินเชื่อ ร่วมกับดึงงบ อบต. มาช่วยสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ซึ่งจะรับน้ำจากหนองบึงแดงอีกทอดหนึ่ง กักเก็บเป้นทอดๆๆ เพื่อขยายพื้นที่รอบๆให้ได้ใช้ประโยชน์จากโครงการอย่างเต็มประสิทธิภาพ ร่วมทั้งให้สินเชื่อกับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ในพื้นที่ชลประทานดังกล่าว อีกทั้งยังส่งเสริม สนับสนุน หน่วยงานเอกชนที่มีศักภาพในการส่งเสริมพืชฤดูแล้ง มาช่วยอีกแรง นับว่าเป็นนโยบายที่สวยหรู น่าชื่นชม ชื่นใจ ออกจากหนองบึงแดง ผมไม่ได้ร่วมเดินทางไปอีกโครงการ แต่ผมมานั่งรอที่ประตูระบายน้ำน้ำก่ำตอนล่าง(ดังรูปภาพนะครับ) พอผมเข้าไป พื้นที่ ต้องบอกว่า สวยงามมากๆครับ วันนั้นแดดจัด บรรยากาศร้อนมากมาย แต่ได้วิว บรรยากาศประตูระบายน้ำมาตัดทำให้ผมแอบยิ้ม กับความสุขเล็กๆ รอแป๊ปเดียวครับ คณะท่าน ดร.วิโรจน์ก็เดินทางมาถึง ฟังบรรยายสรุปงานโครงการจากกรมชลประทาน สรุปเล่าถึงที่มาที่ไปโครงการ อนาคต เป้าหมาย การดำเนินงานต่างๆๆละเอียดยิบ ซึ่งมีภาพตอนนึงซึ่งเป็นภาพร่างเค้าโครงพระราชทานแสดงแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ ขนลุกนะครับ เป็นภาพวาดจากฝีพระหัตจริงๆๆ ผมดูแล้วอึ้ง ต้องบอกว่าเราโชคดีมากๆๆที่เกิดมาเป็นคนไทย เกิดมาอยู่ใต้พระบารมีของพระเจ้าแผ่นดินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก ส่วนพืชฤดูแล้งที่ใช้ประโยชน์จากโครงการ มีมันฝรั่ง มะเขือเทศ แตงโม ข้าวโพด แต่ผมไม่ยักเห็นถั่วลิสง ผมจึงมีแนวคิดที่จะร่วมสนับสนุนส่งเสริมการปลูกในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อเป็นอีกทางเลือกในการเพาะปลูกพืช เกือบๆๆ บ่าย สองครับ หิวมาก ไปทานข้าวกันที่ อำเภอธาตุพนม ร้านบ้านเพื่อนๆท่าน ดร.วิโรจน์ ครับ เมนูคงหนีไม่พ้นปลาน้ำโขง มาทุกรูปแบบครับ ต้มยำ ลาบ ทอด อิ่มอร่อยทั้งคณะ ฟังท่าน ดร.วิโรจน์และเพื่อนขับกล่อมสุนทราภรณ์ ยังกะนั่งในโรงแรม 5 ดาว หาใดเหมือน......(แซบบบบบบบบ) อิ่มจังตังค์อยู่ครบ!!!!!! ออกเดินทางต่อ ไป ที่ ภูพานน้อยอนุสรณ์สถานแห่งความสงบ ตั้งอยู่บนภูพานน้อย ตำบลพิมาน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม บนถนนสายดงหลวง - นาแก ซึ่งตรงนี้เป็นสถานที่ที่มีการทำงานของชุมชนในตำบลพิมาน โฮมสเตย์ บ้านพัก จัดอบรมสัมมนา วันนั้นฝนตกปรอยๆ บรรยากาศดีมาก ซึ่งคณะท่าน ดร.วิโรจน์ ติดตามงานที่มาให้แผนงานในครั้งก่อนซึ่งก็มีการปฏิบัติตามแผนเป็นอย่างดี ทั้งการเพิ่มผลผลิตข้าว การรวมกลุ่มแม่บ้านต่าง ๆ การปลูกเงาะซึ่งอร่อย หวานๆๆๆไม่แพ้เงาะจันทบุรีเลยครับ ผมติดตามได้พักใหญ่ ต้องขอตัวกลับก่อนคณะท่าน เพราะผม แอบติดตามไปดู ระบบชลประทาน ในการเดินทางครั้งนี้ขอขอบคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุกูล วัฒนสุข ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ม.เกษตร สกลนคร ที่กริ๊งกร๊างให้ผมร่วมติดสอยห้อยตามไปด้วย สนุกได้เปิดหูเปิดตากับโครงการดีๆที่ไม่ค่อยนำมาพูดถึง "ปิดทองหลังพระ" สุภาษิตนี้ยังคงขลังเช่นเคยครับ

17 มิถุนายน 2553
จริง ๆ ผมควรลงเรื่องนี้ตั้งแต่ปลาย ๆ เดือนเมษายน นะครับ แต่มัวแต่ไปเที่ยวดูของคนอื่นก่อน จึงเพิ่งมาปลูกของตัวเอง ปีนี้ผมลงถั่วฤดูฝน ทั้งหมดเกือบ ๆ 20 ไร่ ซึ่งมีแปลงทดลองเล็ก ๆ อีกประมาณ 1 ไร่ เพื่อทดลองการใช้ปุ๋ย เพิ่มผลผลิตถั่วฤดูฝน เพราะผลผลิตฤดูฝนผม พันธุ์ ไทนาน 9 เฉลี่ยที่ปลูกมาแค่ สองร้อยฟ่าๆๆ เอง ถือว่าต่ำ พูดง่ายๆ ได้ D อ่ะครับ เรื่องที่ผ่านมาเป็นการปลูกที่สระบุรีก็แตกต่างกันสิ้นเชิงนะครับเพราะสภาพพื้นที่ด้วย วิธีการปลูกผมใช้แทรคเตอร์ลงผาล 7 วิ่งไปกลับทับรอยเดิม ก็จะได้ร่องสูงประมาณ 30 ซม. ระยะห่างระหว่างร่องประมาณ 1.30 เมตร ซึ่งผมปลูก 4 แถว ห่างกันประมาณ 20 ซม. ที่ทำอย่างนี้เพราะพื้นที่ผมมีปัญหาการระบายน้ำจึงต้องยกร่องสูงเล็กน้อยป้องกันปัญหาน้ำท่วมแปลง ส่วนพื้นที่ที่ดอนระบายน้ำดี ก็ไม่จำเป็นต้องยกร่องก็ได้ครับส่วนอีกภาพเป็นผาลที่ผมลองซื้อมาใช้ดูและทดลองปลูกแถวเดียวระยะห่างระหว่างแถว 55 ซม.ครับก็ผาลนี้โอเคครับร่องตรง และประหยัดเวลาหรือจะปลูกโดยวิธีการแบบเกษตรกร อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ก็โอเค ใช้ผาลที่ติดกับรถไถเดินตามโดยถอดผาลด้านหน้าออก ให้เหลือผาลเดียวแล้วไถพรวนเป็นแนว ใช้เมล็ดหยอดลงในร่อง แล้ววนรถไถกลับมากลบรอยเดิม ซึ่งประหยัดเวลาและค่าแรงงานดีมาก ดินที่ผมปลูกเนื้อดินส่วนมากเป็นดินทราย ผมจึงใช้ปุ๋ยรองพื้น สูตร 8-24-24 รองพื้น 10 กิโลกรัมต่อไร่ จากนั้นต้องพ่นยาคลุมหญ้าครับเพราะใช้แรงงานคงไม่ไหว ผมเลือกใช้ อะลาคลอร์ครับ ก่อนถั่วออกดอกหรือประมาณ 25 วันควรกำจัดวัชพืชอีกครั้งหากมีนะครับ ถ้าไม่มีก็หลังใส่ปุ๋ยครั้งที่สอง สูตรเดิมอีกสัก 20 กิโลกรัม หลังถั่วออกดอก หรือหลังใส่ปุ่ยครั้งที่สองสักอาทิตย์ ให้โรยยิปซั่มข้างแถวปลูกเพื่อคุณภาพเมล็ดที่ดีอัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ แค่นี้ก็เสร็จพิธี รอเก็บเกี่ยวขายผลผลิตยิ้มชื่นบานฤทัย อ่อถั่วฤดูฝนจะไม่ค่อยยืดเวลาเก็บเกี่ยวลงบันทึกวันที่ปลูกไว้หน่อยก็ดีครับ
04 มิถุนายน 2553
ชื่อเรื่องยาวเพราะจะได้อธิบายเนื้อเรื่องชัดเจนยิ่งขึ้น วันที่ 2 มิถุนายน 2553 ที่ผ่านมาผมออกเดินทาง พร้อมทีมงาน ไปเยี่ยมชมเทคโนโลยีการปลูกถั่วลิสงที่ใช้เครื่องปลูกแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งผมคุ้มค่ากับการเดินทางทริปนี้พอสมควร เพราะมีอาจารย์ระดับ ดร.เป็นวิทยากรที่ถามไรตอบได้ทุกคำถาม เรียกว่า ไขกันหมดก๊อกได้เลยครับ ท่านแรกเป็นปรมาจารย์ด้านปุ๋ยและสารปรับปรุงดิน ท่าน ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ปิยะ ดวงพัตรา อีกท่านนึงเป็นปรมาจารย์ด้านการปรับปรุงพันธุ์ ข้าวโพด เรียกว่า มือวางอันดับ 1 ครับ ท่าน ดร.ทวีศักดิ์ ภู่หลำ ซึ่ง ดร.ทวีศักดิ์ เป็นเจ้าภาพพาไปชมแปลงปลูก ทั้งข้าวโพดและถั่วลิสง แต่ผมขออนุญาตพูดเฉพาะเรื่องถั่วลิสงครับ ถั่วลิสงใน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เป็นการปลูกบนพื้นที่ที่เรียกว่านิคมที่มีการจัดสรรพื้นที่เป็นบล็อก สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ พื้นที่โดยทั่วไปเป็นดินหินโผล่ ซึ่งดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง พื้นที่ไม่สม่ำเสมอ การเตรียมดินถือว่า เกษตรกรเองเตรียมดินได้ดีมากครับ เพราะถ้าให้คนแถวบ้านผมไปทำคงจะไม่กล้าทำเพราะปนหินหลายขนาดมากๆ ทำยาก แต่สำหรับคนพระพุทธบาท...ชิว ชิว..ส่วนมากการปลูกเป็นการปลูกโดยไม่ยกร่อง ใช้เครื่องหยอดเมล็ดซึ่งผมยังไม่เห็นตัวเครื่อง เนื่องจากเกษตรกรยืมเพื่อนๆมาปลูก ถ้าซื้อราคาเครื่องประมาณ 25,000 บาท ใช้ติดรถแทรคเตอร์วิ่งหยอดเป็นแถวได้อย่างสบาย  ระยะห่างระหว่างแถว 25 เซนติเมตร เครื่องจะโรยเป็นแถว ซึ่งจริงๆ สามารถตั้งระยะได้โดยเปลี่ยนจานหยอดได้ทุกระยะ เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงก็เหมือนๆกับเครื่องหยอดเมล็ดข้าวโพดนั่นเอง ที่พระพุทธบาทหรือแถบสระบุรี จะปลูกข้าวโพดกันเต็มพื้นที่ สุดลูกหูลูกตา มีถั่วลิสงบ้างนานๆที ซึ่งผมตื่นตาตื่นใจพอสมควรกับการเกษตรที่สระบุรี ที่พัฒนาไปไกลกว่าพื้นที่ทางอีสาน เรียกว่า ผมต้องเรียนรู้การปลูกถั่วลิสงกันใหม่เลยที่เดียว แตกต่างอย่างสิ้นเชิง ทั้งเทคโนโลยีการปลูก ทั้งการตลาด ซึ่งเครื่องหยอดเมล็ดประหยัดเวลาและแรงงานได้หลายเท่าตัว เพราะพื้นที่ที่ผมไปดูประมาณ 5 ไร่ใช้แรงงาน 2 คนใช้เวลาปลูกแค่ 3 ชั่วโมง...อึ้งเลยครับเพราะที่อิสาน 5 ไร่ ถ้าใช้แรงงาน 2 คนปลูกเท่ากัน ต้องใช้เวลาถึง 7 วันเลยที่เดียว (โห..ขนาดนั้นเลย)  ต้องขอขอบคุณท่านดร.ปิยะ และ ดร.ทวีศักดิ์เป็นอย่างสูงครับที่ให้เกียรติและให้ความรู้กับผมและทีมงาน ส่วนอีกท่านคือ อาจารย์เจษฎา มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ผู้แนะนำสถานที่และร่วมเดินทางไปด้วยกัน ก่อนกลับผมแวะไปเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งมีน้ำน้อยมากๆ ครับ แต่บรรยากาศยังเป็นที่พึ่งยามเหนื่อยๆได้ดี แวะทานอาหารปลา ปู กุ้ง ร้านอาหารแถบๆเขื่อนซึ่งทริป นี้ต้องบอกว่า "สุโค่ยยยยยยย" ครับ....!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!
28 พฤษภาคม 2553
ไหนๆก็แดงทั้งแผ่นดินไปแล้ว แดงใต้ดินมั่งเป็นไร ที่พูดนี่ไม่ใช่ นปช.นะครับ ผมหมายถึง ถั่วลิสงพันธุ์ "กาฬสินธุ์ 1" ที่แดงไม่แพ้ สข. 38 ที่ผมเคยเสนอไปก่อนหน้านี้ ลักษณะประจำพันธุ์นี้คือ มี 2-4 เมล็ดต่อฝัก เยื่อหุ้มเมล็ดแดง....แจ่มมาก  เส้นลายบนฝักค่อนข้างเรียบ จึงได้ชื่อแบบชาวบ้านๆ ว่า "ไอ้โล้นแดง" ฝักตรง รสชาติหวานเหมาะสำหรับทำถั่วลิสงต้ม อายุเก็บเกี่ยว ฝักสด 80-85 วัน ฝักแห้ง 90-100 วัน ซึ่งสั้นกว่า สข.38 ประมาณ 10 วัน เท่าที่ผมปลูกทดลองกาฬสินธุ์ 1 อ่อนแอต่อโรคโคนเน่าพอสมควร ก่อนปลูกจึงควรคลุกเมล็ดด้วยสารเคมี(แคปแทน) จะช่วยลดอัตราการตายด้วยโรคดังกล่าวได้ เมื่อเทียบกับ สข.38 ลักษณะภายนอกจะมองออกทันทีเพราะ สข.38 เส้นลายบนฝักและจงอยฝักจะชัดเจน ส่วนกาฬสินธุ์ 1 จำไว้ว่า โล้นแดง เท่านี้เราก็พอที่จะแยก 2 พันธุ์นี้ได้แล้วซึ่ง เรื่องพันธุ์ถั่วลิสง จริงๆ ถ้าหาใน อาจารย์ กู (เกิ้ล) จะเป็นข้อมูลที่ไม่ค่อยละเอียดและเป็นเชิงวิชาการ ซึ่งผมเองก็จะพยายามตามหาแต่ละพันธุ์ที่พอจะหาได้ มาทดลองปลูกแล้ว "แชร์" ข้อมูลที่บล็อกนี้นะครับ เรื่องพันธุ์ยังมีอีกเยอะครับ เด่วจะมาอัพเดทให้ครับ
27 พฤษภาคม 2553
หายหน้าไปนานมากๆครับ เพิ่งมีโอกาสมาอัพบล็อก ซึ่งเรื่องราววันนี้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเครื่องจักรที่สามารถช่วยเกษตรกรประหยัดทั้งเวลาและต้นทุนการผลิต(แรงงาน) ได้อย่างมาก อีกทั้งยังเป็นเครื่องที่ผมไป  แอบๆ  ถ่ายภาพมาฝากกัน เครื่องนี้ชื่อ (แอ่น แอน แอ๊น.........)  "เครื่องปลิดฝักถั่วลิสงต้นแห้ง" ซึ่งผมเป็นคนตั้งชื่อเองครับ เครื่องนี้นำเข้าจากประเทศจีนเลยนะครับ บางคนอาจสงสัยว่า ชื่อเครื่องทำไมต้องต่อท้ายด้วย "ถั่วลิสงต้นแห้ง" ก็เพราะเครื่องนี้ใช้ได้ดีกับ ต้นถั่วที่แห้งแล้วเท่านั้น กล่าวคือเมื่อเก็บเกี่ยวถั่วแล้วต้องรอหรือตากถั่วลิสงทั้งต้น ให้แห้ง(กรอบ)ก่อนนำมาใช้เครื่องปลิดฝักตัวนี้ ซึ่งจริงๆบ้านเราต้องการปลิดทันทีหลังเก็บเกี่ยวหรือปลิดสดนั่นเอง  ราคาผมไม่รู้เพราะไม่ใช่คนซื้อมา รู้แต่ว่า ประสิทธิภาพเครื่องนี้ต้องใช้คำว่า "เวิร์ค" มาก ซึ่งผมเองได้มีโอกาสนั่งดูการทดสอบเครื่อง มีขั้นตอนไม่ยุ่งยากครับ ผมขออธิบายเกี่ยวกับตัวเครื่องและหลักการทำงานของเครื่องนิดนึงนะครับ เครื่องใช้มอเตอร์ ขนาด 5 แรง ไฟสามเฟส นะครับเป็นตัวขับเคลื่อน โดยใช้สายพาน ข้างในไม่มีไรเลยครับเป็นเหล็กเส้นที่ทำเป็นวงกลม โดยมีซี่คล้ายตะขอเกี่ยวต้นถั่วให้หมุนตามวงล้อ แล้วอาศัยแรงเหวี่ยงให้ฝักหลุดจากต้นถั่ว ผ่านตระแกรงร่อนแยกดิน และขั้วออกจากกันได้ด้วยครับ ซึ่งจริงๆไทยเรามีเครื่องปลิดฝักมานานแล้วนะครับ ซึ่งมีการทดลองทดสอบออกแบบจากหลากหลายสถาบัน ผมเคยเห็นมา 2-3 เครื่องครับ แต่ถือว่า เครื่องจากจีนเครื่องนี้ชนะใสๆ ครับพอดียูทูบมีเครื่องที่น่าจะเหมาะกับเราคือปลิดถั่วสดและน่าจะ "เวิร์ค"ผมขอเอาลิ้งค์มาฝากแล้วกันนะครับ เครื่องปลิดฝักถั่วลิสงฝักสดจากจีน(คลิกครับ) เหอะๆ ไม่ได้ว่า ไทยเราสู้เค้าไม่ได้นะครับ แต่ไทยเรายังไม่สนับสนุนงบการทดลองวิจัยเครื่องจักร เกี่ยวกับถั่วลิสงมากเท่าไหร่นั่นเอง จึงทำให้ไทยเรายังล้าหลังเรื่องเครื่องจักรที่เกี่ยวกับถั่วลิสง ผมเองเป็นคนนึงที่ทำถั่วและพยายามที่จะหาเครื่องจักรมาใช้เพื่อทดแทนแรงงานที่เป็นต้นทุนหลักๆในการผลิตถั่วลิสง แต่ก็หายากมาก หลายๆแห่งทำแล้ว ใช้แล้ว ก็หายไป เพราะเมื่อนำไปใช้แล้ว "ไม่เวิร์ค" นั่นเอง และราคาที่สูงจนทำให้เกษตรไม่สามารถซื้อมาใช้ได้ นี่คือปัญหาที่ไทยเราเองต้องแก้ไข   ถั่วลิสงเองก็ไม่ใช่พืชเศรษฐกิจ ของประเทศเท่าไหร่ รัฐบาลทุกรัฐบาลจึงมองข้าม หรือเพราะถั่วลิสงเรามันอยู่ใต้ดิน จึงไม่มีใครมองเห็นความสำคัญอย่างนั้นหรือครับ "จ้าว....นาย................"
13 พฤษภาคม 2553
สงสัยกันใหญ่ว่า ยาไรหว่า แก้ปวดหลัง สงสัยกันใหญ่ ไอ้แจ๊บเป็นใครหว่า  แต่สำหรับคนที่ปลูกข้าวโพดแถว ๆ โคราชรู้จักกันดี "แจ๊บ" เป็นเครื่องมือที่ช่วยหยอดเมล็ด โดยใช้กลไกไม่มีเครื่องจักรมาเกี่ยวข้อง แต่ต้องอาศัยแรงกดเล็กน้อย จึงเรียกได้ว่าเป็นเครื่องทุ่นแรง ที่ช่วยให้เกษตรกรที่ปลูกถั่วลิสงสบายขึ้น ทำงานได้เร็วขึ้น ประหยัดค่าแรงงาน ช่วยลดต้นทุนการผลิต แจ๊บ  ลักษณะเป็นกรวยสี่เหลี่ยม ปากแหลม ช่วยหยอดเมล็ดลงไปในดินโดยไม่ต้องแทงหลุมก่อน  เพราะ "แจ็บ" ทำแบบ 2 อิน 1 ครั้งเดียวจบ โดยไม่ต้องก้มลงไปปลูกเหมือนแต่ก่อน จนหลายๆคน บ่น ว่าปลูกถั่วแล้วปวดหลัง  แถมยังสามารถวัดระยะปลูกให้เราได้โดยอัติโนมัติ แจ็บที่เห็นในภาพประกอบ คือแจ็บ ถั่วลิสง ตัวแรก ในโลก คือ วัดระยะปลูกที่ 20 เซ็นติเมตร ได้รับความอนุเคราะห์จาก ดร.จวงจันทร์ ดวงพัตรา ผู้เชี่ยวชาญเรื่องถั่วลิสงของไทย ท่านอาจารย์ทำมาให้เป็นตัวอย่าง ไว้สำหรับทดลองปลูก......ฟรีครับ(ผมช๊อบ) แต่ต้นทุนแจ็บตัวนึงประมาณ 500-700 บาทครับ โดยมากแจ็บปลูกข้าวโพด วัดระยะที่ 25 เซ็นติเมตร ซึ่งก็ใช้ได้กับถั่วฤดูฝนครับ แต่ 20 เซ็นติเมตรเหมาะกับถั่วฤดูแล้งครับ ส่วนที่มาที่เรียกว่า แจ็บ  เข้าใจว่าทับศัพท์ภาษาอังกฤษครับ JAB - แจ็บ แปลว่ากระทุ้งครับ เพราะเวลาใช้ต้องใช้แรงกด หรือกระทุ้งลงดิน ผมขอเพิ่มเติมอีกหน่อยครับ ว่า แจ็บ ยังเป็นเสียงดังที่เมื่อเวลากระทุ้งลงดิน เสียงดัง "แช็บ ๆ " "แจ็บ ๆ " (ห้าๆๆๆ)
ซึ่งมันก็จริงอ่ะครับ ซึ่งผมทดลองใช้แล้วครับ ใช้ได้ผลดี สามารถประหยัดเวลาปลูกและแรงงานมากกว่า 30   % เลยทีเดียวครับ นับว่า แจ็บ ช่วยเกษตรกรได้มากที่เดียวเหมาะกับยุคที่ประเทศไทยอยู่ในช่วง ขาขึ้น (น้ำมัน...ก็ขึ้น...ปุ๋ยเคมี...ก็ขึ้น...อาหารตามสั่งก็ขึ้น...แม้แต่ธูปเทียนบูชาพระยังขึ้น ..มีไม่ขึ้นก็หุ้นอ่ะครับ....บ่นๆๆๆๆๆๆๆๆ) ประหยัดกันได้ก็ประหยัดครับ แจ็บ นี่ล่ะครับ ยาขนานเอก "แก้ปวดหลังของคนปลูกถั่ว"
28 เมษายน 2553


ชื่อเรื่องมีภาษาปะกิต อ่ะครับ อย่าไปเปิดดิกชั่นนารี่นะครับ เพราะคงไม่มีคำแปล เพราะ ACMECS เป็นตัวย่อ มาจาก   Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy  เป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับอนุภูมิภาคที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ใช้ประโยชน์จากความแข็งแกร่งและความหลากหลายของทั้งห้าประเทศสมาชิกเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างสมดุล (ข้อมูลจากเวบกระทรวงการต่างประเทศ)  ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 5 ประเทศ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับ Acmecs ยาวครับ และผมก็ไม่ถนัดคุยเศรษฐศาสตร์เท่าไหร่นักคราบบบบ เอาเป็นว่าเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศที่มี ถั่วลิสงเข้าไปเกี่ยวข้องก็แล้วกัน เพราะเป็นพืชเป้าหมายที่จะนำร่องทดลองส่งเสริมปลูกในประเทศสมาชิก พี่ไทยเราก็ไปครับ ครั้งนี้ผมเพิ่งไปร่วมเป็นสักขีพยาน ในงานวันรับซื้อผลผลิตแปลงสาธิตเกษตร ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และถั่วลิสง ที่ แขวงคำม่วน สปป.ลาว เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2553 ที่ผ่านมานี่เอง แขวงคำม่วนตรงข้ามกับอำเภอเมืองนครพนมครับ โดยท่านรองผู้ว่าราชการนครพนมเป็นหัวเรือพาคณะจากฝั่งไทยไปร่วมงานเพื่อเซ็นสัญญารับซื้อผลผลิตกลับมายังฝั่งไทย ไปกันหลายคนครับ เกือบ 30 คน เดินทางโดยทางเรือ (ซึ่งกลางปี 2554 ก็ใช้รถยนต์ได้แล้วครับเพราะสะพานมิตรภาพแห่งที่ 3 จะเสร็จพอดี) ใช้เวลาเดินทางเกือบ 25 นาทีนะครับ ข้ามแม่น้ำโขงซึ่งยังพอมีน้ำที่จะให้เรือแล่นได้ และได้รับการต้อนรับแบบพี่แบบน้องจากรองเจ้าแขวงคำม่วน อ่อไปโน่นต้องใช้ภาษาต่างประเทศนะครับ ผมถนัดมากมาย...555 ฮ่วยพี่น้องผมเน๊าะ...ซึ่งสถานที่ประชุมคือกรมกสิกรรมและป่าไม้แขวงคำม่วน เข้าไปในแขวงคำม่วนไม่ไกลมากนัก เอกชนที่ไปร่วมงานมี หจก.นครพนมรุ่งเรืองการช่าง ที่เค้าส่งเสริมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และสกต. นครพนม รับหน้าเสื่อเป็นผู้ส่งเสริมถั่วลิสงครับ ซึ่งจากรายงานการปลูกที่ฝั่งซ้ายเรา ว่า ไทยสนับสนุนพันธุ์ถั่วลิสงไป 40 ไร่ครับ วิธีการปลูกคล้ายๆ อำเภอเขื่องใน ที่ผมเคยนำเสนอไปแล้วอ่ะครับ ปลูก 3-5 แถว ผลผลิตเฉลี่ยดีมากครับ เพราะพื้นที่ปลูกอยู่บอลิคำไซ ลักษณะดินเหนียวปนทราย เป็นที่นาที่ยังไม่เคยปลูกถั่วลิสงเลย ผลผลิตเฉลี่ย 300 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งถือว่าดีมากครับ สกต.ประกันราคาที่ 18 บาทต่อกิโลกรัม ถือว่าเหมาะสมครับ เกษตรกรพอใจราคารับซื้อมาก และมีแนวโน้มว่า ในฤดูกาลปลูกหน้าจะมีสมาชิกที่สนใจเข้าร่วมมากขึ้นครับ ผมถือว่าเป็นโอกาสที่ดีครับที่เราจะมีถั่วใช้ในประเทศมากขึ้น ทั้งยังเป็นการสานสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้อง ช่วยเหลือแบ่งปัน ให้อาเซียนเราเป็นผู้นำ "ถั่วลิสง" ต่อไปครับพี่น้อง



ไหนๆพูดเรื่องพันธุ์ถั่วลิสงแล้ว ขอต่ออีก  2 พันธุ์ที่ดูชื่อแล้วคงเกิดอยู่อิสานเหอะๆ นั่นคือ พันธุ์ขอนแก่น 5 และ พันธุ์ขอนแก่น 6 ซึ่งที่ผมอยากพูดถึงเพราะรูปร่างหน้าตาสองพันธุ์นี้ไม่เหมือนกันเลย แต่ไหงชื่อดั๊นคลานตามกันมา...ไล่กันที่ละพันธุ์ทีละช็อตกันเลยนะครับ
                                   ขอนแก่น 5                                                      ขอนแก่น 6
               - เฉลี่ย 2 ฝัก เส้นลายชัดเจนแบบตาข่าย          - เฉลี่ย 2 ฝัก เส้นลายเจนในแนวตรง
                 ร่องไม่ลึก
               - เมล็ดปานกลาง เยื่อหุ้มสีชมพู                        - เมล็ดโต เยื่อหุ้มสีชมพูเข้ม
               -ลำต้นสีเขียวอ่อนทรงพุ่มกว้าง                         - ลำต้นสีเขียวเข้ม(น่าจะเข้มกว่าทุกพันธุ์)
               -อายุเก็บเกี่ยว 85-115 วัน                                  - อายุเก็บเกี่ยว 105-110 วัน
               -รับรองพันธุ์ 2541                                              - รับรองพันธุ์ 2547
ทั้งสองพันธุ์พัฒนาสายพันธุ์โดยศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่นซึ่งกว่าจะได้ สายพันธุ์ที่ดีและนิ่ง นั้นอาศัยเวลามากมายครับ อย่าคิดนะครับว่าง่าย............แล้วปรมาจารย์ถั่วลิสงจริงๆ ในเมืองไทยมีไม่มากครับ โดยส่วนตัวผมชอบทั้งสองสายพันธุ์ที่ ต้านทานโรคยอดไหม้ได้ดีมาก เพราะผมทดลองปลูกร่วมกับพันธุ์อื่นๆ 2 พันธุ์นี้ไม่ค่อยเสียหายจาก โรคยอดไหม้มากนักเมื่อเทียบกับพันธุ์อื่น ๆ แต่ขอนแก่น 6 กลับเสียหายด้วยรากเน่าโคนเน่าพอสมควร แล้วขอนแก่น 6 มีจุดเด่นตรงที่ ลำต้นของเขาเขียวเข้มกว่าพันธุ์อื่นๆครับ ถ้าปลูกหลาย ๆ พันธุ์จะเห็นชัดเจน มองแล้วชื่นใจ และขนาดเมล็ดที่ไม่น่าเชื่อว่าถั่วลิสงจะเม็ด หญ่ายยยยยยยยยยยย ได้ขนาดนั้นครับ ถ้านึกภาพไม่ออก ลองเดินเข้าไป 7-11 ไปซื้อถั่วอบเกลือ ผมเรียกว่า ถั่วเปลือยอ่ะครับ มีหลายยี่ห้อ โดยเฉพาะโก๋แก่ ถั่วอบเกลือ เมล็ดขอนแก่น 6 จะมีขนาดประมาณนั้นอ่ะครับ แต่ถั่วโก๋แก่หรือทองการ์เด็นท์ ไม่ใช่ ขอนแก่น 6 นะครับ เป็นถั่วที่นำเข้าจากต่างประเทศ เพราะ ขอนแก่น 6 ไม่ค่อยมีคนนิยมปลูกเท่าไหร่ เพราะตลาดที่ไม่รองรับเท่าทีควร ส่วนขอนแก่น 5 ปลูกกันเยอะครับ ตลาดยังรองรับทั้งสดและแห้ง สามารถปลูกได้ดีทุกพื้นที่ และอยากกระซิบดังๆ ให้คนที่ครอบครองพันธุ์ ขอนแก่น 6 อยู่ในตอนนี้อย่านำไปทิ้งไหนนะครับ ผมคิดว่าแนวโน้มถั่วเมล็ดโตในไทยน่าจะดี ในปี 2554 เพราะต่างประเทศบางประเทศผลผลิตและพื้นที่ลดลงมาก จึงน่าจะเป็นโอกาสอันดีที่จะให้ความสนใจเจ้าถั่วเมล็ดโต ขอนแก่น 6 ที่เป็นน้อง ขอนแก่น 5 ตั้ง 6 ปี แต่ไหง "SIZE มันต่างกันซะ"
10 เมษายน 2553
            วันนี้ผมขอแนะนำพันธุ์ถั่วลิสงที่มีมานานแสนนานเรียกว่า "เก๋าสุด" ในบรรดาพันธุ์ถั่วลิสงสายพันธุ์ไทยซึ่งได้จากการรวบรวมพันธุ์ถั่วลิสงพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกในไทย ซึ่งที่มาคำว่า สข.38 ขอยอมรับว่าหาข้อมูลไม่ทันแต่อยากลงรูปเพราะเพิ่งถ่ายมาสดๆจากแปลงที่ผมปลูก...เหอะๆๆ  แต่จะเอามาเพิ่มเติมให้เพราะท่านผู้รู้ติดเที่ยวสงกรานต์พอดี เท่าที่มีข้อมูลคือ นำมาปลูกและคัดเลือกเปรียบเทียบผลผลิตครั้งแรกที่ สถานีกสิกรรมร้อยเอ็ด ดูชื่อแล้วน่าจะเก่ามากครับก็เก่าพอสมควร คือตั้งแต่ปี 2502 และกรมกสิกรรม ได้แนะนำพันธุ์ ในปี 2505 เอาลักษณะทั่วไป(ดูด้วยตาผมนี่ล่ะ)  ลักษณะทรงต้นเป็นทรงพุ่ม ติดฝักกระจุกที่โคนต้น ดอกจะสีเหลืองเข้ม จงอกฝักเห็นชัดเจนครับ เยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงสดใส(แก่เต็มที่) ต้องบอกว่าเยื่อหุ้มที่สีแดงทำให้ผมสนใจขึ้นมาทันที เพราะน่าจะแปรรูปแล้วสีสวย  แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า พันธุ์ สข. 38 นี้ปัจจุบันหาพันธุ์ยากมาก ผมได้พันธุ์นี้มาจาก ดร.จวงจันทร์ ดวงพัตรา ซึ่งเป็นปรมาจารย์ด้านถั่วลิสงท่านหนึ่ง ท่านหามาให้ตั้ง 1 กิโลกรัม ซึ่งผมถือว่า ไอ้ 1 กิโลกรัมนี่ล่ะคือสมบัติชาติเพราะมันเหลืออยู่แค่นี้ ไปถามกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดูซิครับ มีพันธุ์นี้รึเปล่า  อาจเพราะมีการปรับปรุงพันธุ์มามากมายหลากหลายสายพันธุ์ จนลืมไปว่า สข.38 คือสุดยอดถั่วลิสงต้ม ที่ใครได้ชิมแล้วต้องยกนิ้วให้ ดังนั้นที่ผมเอามาลงในวันนี้เพื่อบอกว่า "เรามัวแต่มองหาสิ่งที่ดีที่สุด จนลืมมองเห็นคุณค่าสิ่งที่เรามีอยู่" แต่อย่าเพิ่งตกใจว่าจะสูญพันธุ์เหมือนสัตว์ป่าคุ้มครองหลายๆตัว เพราะยังไงๆ ซะผมคงจะขยายพันธุ์ สข.38 ให้มีมากกว่านี้ จะเก็บไว้ในสต็อกถั่วลิสงในชีวิตผมต่อไป นี่ล่ะครับ "สข.38 สุดยอดถั่วลิสง"ของเรา
09 เมษายน 2553
จั่วหัวตรงๆ เพราะตอนนี้บริษัท แม่รวยการเกษตร(โก๋แก่) จำกัด จังหวัดสกลนคร  เปิดรับซื้อถั่วลิสง(เปิดตราชั่ง)แล้ว รับซื้อเฉพาะพันธุ์ไทนาน 9 นะครับ ย้ำนะครับพันธุ์ไทนาน 9  ซึ่งบริษัทได้ประกันราคาให้สมาชิก ที่ 18 บาท ต่อกิโลกรัม แต่เปิดรับซื้อถั่วเกรดเอสูงถึง 23-26 บาทเลยที่เดียว ซึ่งถือว่าราคาดีมากๆ เมื่อเทียบกับฤดูแล้งปีที่แล้ว อาจเป็นเพราะพื้นที่ปลูกที่ลดลงมากเมื่อเทียบกับปีที่ผ่าน ๆ มา เกษตรกรที่ปลูกหลังปลูกข้าวพันธุ์เบา เก็บเกี่ยวและขายไปแล้วก่อนสิ้นเดือนมีนา ฝากบอกมาว่า ได้ราคาสูงถึง 26 บาทเลยทีเดียว นั่นเพราะถั่วในช่วงดังกล่าวสามารถลดความชื้นได้ดีเพราะไม่มีฝนตก และไม่ถูกรบกวนจากโรคแมลงมากนัก ทำให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี สามารถขายผลผลิตได้ราคา สมาชิกโครงการหลายคนซึ่งผมเป็นหนึ่งในนั้น ให้ความเห็นตรงกันว่า การปลูกถั่วลิสงหลังปลูกข้าวพันธุ์เบา(ตุลาคม-กลางพฤศจิกายน)  สามารถลดปัญหาโรคแมลง และลดความชื้นได้ดีคือเก็บเกี่ยวช่วงมีนาคม แถมยังขายได้ราคาดี ถึงแม้ไม่มีผลทดลองวิจัยยืนยันก็ตาม แต่สิ่งพวกนี้บางทีอาศัยประสบการณ์ที่สามารถทำนายได้แม่นยำ ไม่แพ้หมอลักษ์....ฟันธงเหมือนกัน เหนือสิ่งอื่นใดเกษตรกรควรมีการจดบันทึกข้อมูลการปลูกไว้เพื่อเป็นข้อมูลการผลิตในฤดูถัดไป ยังไงเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวแล้ว สามารถสอบถามรายละเอียด การรับซื้อถั่วลิสงที่  042 747434-5  ชื่อบริษัทแม่รวยการเกษตร (โก๋แก่) จำกัด จังหวัดสกลนคร คร๊าบบบบบบบบบบบ
07 เมษายน 2553
วิกฤตน้ำปีนี้กระทบกับข้าวนาปรังมากพอสมควรในหลายพื้นที่ เขื่อนหลายๆเขื่อนต้องหยุดปล่อยน้ำเพื่อการเกษตร เกษตรกรก็คงต้องรับภาระ  นั่งร้องเพลง"ขาดทุน"กันแทบทุกปี ปีที่แล้วท่วม ปีนี้แล้ง คงเกิดคำถามว่า แล้วปีไหนจะพอดีซักที จะได้ลืมตาอ้าปากร้องเพลง คาราโอเกะ "กำไร" เหมือนๆอาชีพอื่นๆมั่ง คำตอบมีแล้วครับ การบริหารจัดการน้ำของไทยยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจน คือต้องแก้ทั้งระบบอ่ะครับ ดีนะครับที่ถั่วลิสงของผมเป็นพืชฤดูแล้งที่ใช้น้ำน้อย  และยังสามารถปรับปรุงดินให้ผมได้ด้วย ผมว่าปีนี้คงยิ้มได้เหมือนทุกปี ช่วงนี้เกษตรกรที่ปลูกถั่วลิสงกำลังเริ่มเก็บเกี่ยว ผมคนนึงล่ะที่กำลังเก็บเกี่ยวถั่วปีนี้โดยสรุป ถือว่าค่อนข้างดีครับ แต่ปัญหายังเจอโรคแมลงเข้าทำลายเหมือนๆทุกปีที่ผ่านมา โรคโคนเน่ายังเป็นปัญหา(เพราะตอนนี้ไม่ใช้ยาคลุก) โรคยอดไหม้ ที่มีเพลี้ยไฟเป็นพาหะยังพบอยู่ หนอนกระทู้ในแปลงผมตัวบากเอบบ.....(ตัวใหญ่) เจอเกือบทุกปีกรณีฝนทิ้งช่วง แต่โดยรวมผลลิตถือว่าดี ซึ่งราคาถั่วสดที่ซื้อเกษตรกรปลิดสดๆ ราคา 12-15 บาทเลยที่เดียว แต่ราคาดีขนาดไหนผมยังคงขายถั่วฝักแห้งอยู่ดีครับ เพราะเมื่อเทียบแล้วการตากให้แห้งรอจำหน่าย มีผลดีคือเรารอราคาได้ และถั่วสดราคาดีจะอยู่ในช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว หลังจากนั้นตลาดก็ตก ซึ่งบางทีบวก ลบ คูณ หารดูแล้ว สู้เราเสียเวลานิดหน่อยตากให้แห้ง รอจำหน่ายดีกว่า ผมเคยทดลองเปรียบเทียบน้ำหนักสดกับแห้งดูแล้ว ได้สรุปดังนี้ครับ ตากถั่ว 100 กิโลกรัม  4 แดด ความชื้นเหลือ 8 % ได้ถั่วฝักแห้ง เฉลี่ย ประมาณ 65 กิโลกรัม นั่นคือ 65 % ของนำหนักสด ซึ่งผมจะลองคำนวณคร่าวให้ดูนะครับ
                                  ถั่วสด 100 ก.ก. ราคา  12 บาท ขายได้    1200  บาท
ถั่วสดตากแห้งเหลือถั่วแห้ง    65 ก.ก. ราคา  23 บาท ขายได้    1495 บาท
เห็นไหมครับ เมื่อเทียบดีๆคิดดีๆก่อนขายผลผลิตเราจะเห็นความต่าง ที่เกิดขึ้น นี่คิดแค่ 100 ก.ก. นะครับ เอาน่าเห็นตัวเลขแล้วเกษตรกรอย่างทำท่าปวดหัวครับเพราะหากเราไม่ศึกษาเรื่องพวกนี้อาจทำให้เราตกเป็นเหยื่อของคำว่า "ขาดทุน" อยู่ร่ำไป ยังไง ๆ ซะเกษตรกรที่ปลูกถั่วลิสงปีนี้ ยังรอดูตลาดที่กำลังจะเปิดราคาหลังสงกรานต์ เพราะพื้นที่ปลูกลดน้อยลง ซึ่งพ่อค้าคงสู้ราคาดุเดือดไม่แพ้มวยคู่เอกช่อง 7 สี อย่างแน่นอนได้แต่รอ ว่าจะ "เหนื่อยกว่าเดิม รึ หายเหนื่อย" ตอนขายผลผลิต นี่ยังคงชะตากรรมเกษตรกรต่อไป
18 มีนาคม 2553
ผมคิดว่า โอลิมปิก ที่ผ่านมา จีนเป็นเจ้าภาพ คงทำให้เจ้าภาพครั้งไหนๆ ต้องคิดและหาสตางค์ มาทำให้การจัดครั้งต่อไปไม่น้อยหน้า ตามคอนเซปต์จีนที่ว่า "ต้องใหญ่" ผมคนนึงที่ตอนนี้ทำงานกับคนจีน(แท้ๆ) เป็นคนรับใช้อ่ะครับ จากการบอกเล่าเท่าที่รู้มาคนจีน มาเสื่อผืนหมอนใบ แต่เอ๊ะทำไม สามอันดับเศรษฐีไทย เชื้อสายจีนทั้งนั้น ไม่แปลกครับ ส่วนตัว ย้ำนะครับว่าส่วนตัว (หวังว่าเจ้านายคงไม่เข้ามาบล็อกผมนะ) ผมคิดว่า
    - คนจีน เป็นคนขยันอันดับต้นๆของโลก ทำโน่น ทำนี่ กำไรนิด กำไรหน่อย ขาดทุนเพื่อให้ได้กำไร ฟังดูงงๆ นะครับ อธิบายได้ว่า ยอมขาดทุนนิดหน่อยเพื่องานที่ใหญ่กว่า โป๊ะๆๆมันไปหยวนๆน่า ประมาณนั้นอ่ะครับ
    - คนจีน เป็นคนที่ทำให้เวลา 24 ชม.มีมากกว่าคนอื่น เพราะไรครับ ก็ทำงานๆๆๆๆๆๆๆๆ 
    - คนจีนเป็นคนที่เหมาะกับการขายที่สุดในโลก เพราะจากสถิติสามารถปิดการขายได้ภายในเวลา ไม่ถึง สองนาที นี่คือ คนจีน
    - คนจีน ไม่คิดเลขด้วยตัวเองเพราะ ส่วนใหญ่ จะใช้ "ลูกคิด" กัน
  ยังมีหลายข้อดีๆที่คนจีนมี แต่ชนชาติอื่นไม่มี แต่วันนี้ผมจะ(พยายาม) โยงให้ถั่วลิสงเกี่ยวกับลูกคิดให้ได้ เพราะเรื่องที่จะบอกกล่าวเพื่อนๆ วันนี้ คือ เทคโนโลยีที่ใช้ในกระบวนการผลิตถั่วลิสงครับ ลูกคิด (อังกฤษ: Abacus) เป็นเครื่องมือสำหรับใช้คำนวณ นับเป็นเครื่องคิดเลขยุคแรกๆ ของโลก ประกอบด้วยโครงสี่เหลี่ยม และมีแกนร้อยตัวลูกคิดกลมๆ สำหรับใช้นับเลข สามารถเลื่อนขึ้นลงได้ ลูกคิดแบบเชิงกลเช่นนี้มีด้วยกันหลายแบบ และหลายภูมิภาค เช่น บาบิโลน โรมัน จีน ญี่ปุ่น แต่ที่รู้จักกันดีคือลูกคิดแบบจีน ยังมีลูกคิดแบบที่ใช้ในจินตคณิต ซึ่งจะมีแถวบนเพียงลูกเดียวด้วย(จากเวบวิกิพีเดียสารานุกรมเสรีครับ)  เห็นไหมครับแมนนวลมานานแล้ว แสดงให้เห็นการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆของคนจีนได้ก่อนใครเพื่อน แล้วคนจีนมีความสามารถด้านวิด-วะ ที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดเลยครับ ต้องยอมรับเขา ทดลองทดสอบแล้วไม่เก็บไว้เป็นสมบัติของกระดาษงานวิจัยเฉยๆ เหมือนๆเรา ครับ เขานำมาทดลองทดสอบดัดแปลง  จนทุกวันนี้ จีนได้ชื่อว่าเป็น ประเทศที่มีอิทธิพลต่อโลก ในยุคปัจจุบันเลยทีเดียว แล้วมันเกี่ยวไรกับถั่วลิสงครับ เกี่ยวครับ เพราะผมได้รับภาพนี้มาจากอีเมล์ครับ เห็นแล้วต้องบอกว่าน่าจะเป็นประโยชน์ ต่อวงการถั่วลิสงในไทย  ซึ่งไทยเองก็มีการพัฒนาเครื่องเก็บเกี่ยว มานานแล้วแต่ผมยังไม่เห็นตัวเป็นๆสักที  ผมคงมีโอกาสใช้เครื่องนี้ครับ ได้ผลยังไงผมจะเอามาอัพเดทในบล็อกนี้นะครับ ที่ผมเห็นว่าเครื่องนี้น่าจะมีประโยชน์เพราะใช้รถไถเดินตามที่เกษตรกรส่วนใหญ่มีครับ แบบใช้รถไถเล็กนั่งขับลากก็มีครับ ไปตามลิงค์นี้ครับ เอามาจากเวบจีน แต่แปะไว้ในยูทูบครับ  เครื่องเก็บเกี่ยวถั่วลิสงจากจีน(คลิกครับ) 
05 มีนาคม 2553

ประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ ผมมีโอกาสเดินทางไปศึกษาดูงานที่อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งครั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญเรื่องถั่วลิสงไปกันหลายคน รวมถึงเกษตรกรจากจังหวัดสกลนครร่วมเดินทางไปเสวนาจัดโต๊ะกลม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การปลูกถั่วลิสง การบริหารจัดการกองทุนต่าง ๆ ซึ่งผมได้พบกับเกษตรกรหลายคนที่จัดเป็นนักพูด เกรดเอ ฝีปากคงไม่แพ้ แกนนำ พธม.หรือ นปช.เลยทีเดียว เหอะๆๆ......แต่ที่น่าสนใจผมได้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ว่าประสบปัญหาการตลาด ถูกพ่อค้าเอารัดเอาเปรียบ ขาดการประสานงานกลุ่ม ถึงตรงนี้ผมคงไม่ต้องพูดถึงว่า เกษตรไทยทำไมไม่ไปไหน เพราะขาดการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี และขาดความรู้ความเข้าใจในระบบตลาด ซึ่งเกิดขึ้นกับการเกษตรทุกประเภทครับ ....เลิกบ่นดีกว่าครับ มาถึงการปลูกถั่วแถวๆอุบลกันบ้างครับ ดูจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ดินทราย ดูแล้วไม่น่าได้ผลดีเท่าไหร่นัก แต่ที่รู้มาพื้นที่ตรงนี้ปลูกมามากกว่า 30 ปี แล้วครับ ซึ่งพันธุ์ที่ยังพบเห็นได้คือ ไทนาน 9 ครับ มาดูวิธีการปลูกที่นี่กันบ้างครับ เกษตรกรเตรียมแปลงโดยไถกลบตอซังข้าว ซึ่งไม่นิยมเผาตอซังเหมือนอิสานบน จากนั้นใช้รถไถเดินตาม ยกร่อง อย่าเรียกว่าร่องดีกว่าครับ เพราะกว้างจัง แปลงดีกว่า ซึ่งใช้ผาลรถไถเดินตาม ไปกลับ จะได้แปลงที่เตรียมปลูกระยะห่างระหว่างแปลง(กลางแปลง-กลางแปลง)ประมาณ 1.20-1.50 เมตรเลยที่เดียว ระยะห่างระหว่างต้นใกล้เคียงกะผมหน่อย ประมาณ 20 ซม.หยอด 4-5 เมล็ดครับ จากนั้นให้น้ำท่วมแปลงเลยครับ ก็ดินทรายอ่ะ ระบายน้ำดีมากๆ แต่ถ้าเป็นบ้านผมล่ะคงงอกขึ้นไม่ได้เพราะดินจะแน่นทึบ

ปุ๋ยที่ใส่ส่วนมากเน้นสูตร 15-15-15 หรือไม่ก็ 13-13-21 ครับ ใส่ตอนออกดอกถั่วอายุประมาณ 30 วันอ่ะครับ ใส่ 50 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วกำจัดวัชพืช 2 ครั้ง ผลผลิตที่ได้เฉลี่ยอยู่ที่ 260 - 350 กิโลกรัมเลยที่เดียว เกษตรส่วนใหญ่ขายในรูปฝักแห้งครับ ขายให้บริษัทเอาไปแปรรูปบ้าง พ่อค้าคนกลาง กลุ่มเกษตรกรย่อยบ้าง รายได้หักค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ไร่ละ 3500-6000 บาท ซึ่งนับว่ารายได้ดีครับ ไปไหนมาอีกจะอัพเดทให้ฟังครับ
ผมไม่รู้ว่า สำนักไหนจะคาดคะเนเกี่ยวกับถั่วยังไงนะครับ แต่ที่รู้ ถั่ว ณ วันนี้ (2-3-2553) ดูยังไงก็ยังมืดมนสำหรับพื้นที่ปลูกหรือไม่หวืดหวาเท่ากับ 4- 5 ปีก่อน .........จั่วอย่างนี้แล้วอย่าตกใจครับ เพราะอุปสงค์อุปทาน แหกกฏนี้ยาก(ยกเว้นคุณทำถั่วให้อัลฟลาต่ำกว่า 2) พื้นที่ปัจจุบันผมไม่แน่ใจว่าทั่วประเทศเขาเป็นยังไง แต่ในหัวผมมองเห็นว่า

ราคาคงไม่ขยับมากถึงแม้พื้นที่ปลูกจะลดลงมาก เพราะการนำเข้าจากต่างประเทศยังเพิ่งได้ ภาคอิสาน(ตอนบน) 20-25 บาท ยังคงได้อยู่ครับ ส่วนอิสานล่าง น่าจะ 15-18 บาทต่อไป เนื่องจากอิสานล่างการแข่งขันด้านการตลาดยังไม่เข้มข้น ผลผลิตต่อไร่ยังคงต้องปวดหัวกับการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟ ที่เป็นพาหะ GBNV ต่อไป ทำให้ก้ำกึ่งที่จะอยู่ทุน เหอะๆๆครับ เกษตรกรเรานะพูดแล้ว น่าสงสาร แต่ต้องรับความจริงต่อไป

ไม่อยากโม้จริง ๆ ว่าเมืองไทยเรามี บริษัทที่ทำถั่วลิสงระดับโลกและครองเจ้าตลาดในประเทศเกือบ 90 % ทำเงินให้ประเทศไทยมูลค่าปีละหลายร้อยล้าน และยิ่งไปกว่านั้น บริษัทเขาทำเต็มรูปแบบจริง มีการส่งเสริมปลูกถั่วลิสงและรับซื้อถั่วคืน มีการประกันราคา พูดอย่างนี้แล้วอย่าเดาไปเลยครับ เพราะคงหนีไม่พ้นกับโลโก้ที่สะดุดตา ตุ๊กตาผมตั้งจอมซน ที่ผมเห็นตั้งแต่เด็ก นั่นคือ "โก๋แก่" ในนาม บริษัท โรงงานแม่รวย จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายถั่วลิสงอบกะทิเจ้าเดียวในโลก ส่งออกมากกว่า 50 ประเทศ
และหลากหลายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากถั่วลิสง ผมไม่ได้เงินสักบาทจากบริษัท แต่อยากนำเสนอถึงเส้นทาง ถั่วลิสง เมื่อออกจากแปลงผมไปแล้วไปไหน ข้อมูลที่ได้จากเวบไซต์เค้าก็โอเคนะครับ ลองเข้าไปดูที่นี่ครับ http://www.koh-kae.com/
18 มกราคม 2553
คำถามที่ค้นเคยเวลาไปเจอคนที่ไม่มีความรู้เรื่องถั่วลิสงเลย....(0%) ต้นถั่วเป็นยังไง.....ระยะเวลาปลูกเท่าไหร่........ปลูกนานมั๊ย........แล้วทำไมฝักมันอยู่ใต้ดิน.............5555........ก็คนบ้านผมเรียก "ถั่วดิน" ก็ว่ากันไปอ่ะครับ.........แต่คงไม่สำคัญเท่ากับคำถามที่ว่า ปลูกยังไงได้ผลผลิตดี ต้นทุนต่ำ เพราะสุดท้าย เกษตรกรก็มานั่งกุมขมับนับเงินอยู่ดี......วิธีการปลูกไม่ง่ายอย่างที่คิดนะครับ......เพราะต้นถั่วไม่แตกหน่อ (กล้วยๆ) แต่ผมไม่เอาวิชาการมากนะครับ เอาประสบการณ์ที่ปลูก ที่เจอมาดีกว่า ถั่วลิสงปลูกได้ทั้งปีขอแค่มีน้ำเพียงพอครับ เอาเป็นว่า ส่วนใหญ่ฤดูแล้ง จะปลูกหลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปี อาศัยน้ำชลประทาน หรือ บ่อ หรือน้ำบาดาล ก็แล้วแต่(ตุลาคม - ธันวาคม) ใช้พื้นที่นาข้าวเป็นหลักครับ ส่วนที่สวน ที่เชิงเขา รึว่าไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลัง ก็จะปลูกกันใน ฤดูฝน (พฤษภาคม-กรกฎาคม) ฤดูฝนยังมี ปลูกต้นฝน กลางฝน ปลายฝน แล้วแต่ ฝนใครฝนมันครับ แต่เอาที่สามารถสร้างรายได้และ สามารถผลิตถั่วที่มีคุณภาพ ต้อง ฤดูแล้งหลังนาครับ เพราะช่วงนี้สามารถลดความชื้นได้ดี วิธีการขั้นแรก ต้องไถตากดินสัก 7- 14 วันนะครับ เพื่อฆ่าเชื้อที่มีในดิน(บางส่วน) แต่ผมว่าทุกพืชควรตากดินนะครับไม่ใช่เฉพาะถั่วอย่างเดียว แต่อุปสรรคคือพื้นที่บางแห่งไม่มีความชื้นในดินมากนักให้ปล่อยน้ำเข้าก่อน สัก 2-3 วันค่อยไถกลบฟางนะครับ จากนั้นไถพรวนอีกรอบ ส่วนใหญ่ ใช้รถไถเดินตาม ครับ เพราะ ใครๆก็มีประหยัดเงิน แต่ต้องใช้แรงตัวเอง...เหอะๆ ไถพรวนแล้วก็ คราดย่อยดินให้ละเอียด ขั้นตอนนี้ควรให้ความสำคัญนะครับ เพราะมีผลต่อความงอกจนถึงผลผลิต....งง..งง...นัก กันใหญ่...(มันเกี่ยวไรวะ) เกี่ยวครับ เพราะการเตรียมดินก็เปรียบเสมือนการเตรียมเครื่องแกงที่ต้องพิถีพิถันเพื่อรสชาติอาหารที่ดีนั่นเอง ถั่วก็เหมือนกันครับ ดินควรย่อยให้ละเอียดไม่ควรจับกันเป็นก้อนใหญ่ จากนั้น ใช้ผาลจานหรือผาลหัวหมู เปิดร่องให้ลึก ประมาณ 20 – 30 ซม. ระยะห่างระหว่างร่อง 85 ซม. โดยหว่านปุ๋ยสูตร 15 – 15 –15 50 กก./ไร่ สูตร 12-24-12 20 – 30 กก./ไร่หรือ สูตร 8 - 25 - 25 รองพื้นตรงกลางแปลงปลูก

การเตรียมพันธุ์
การเตรียมพันธุ์ ใช้ถั่วฝักประมาณ 40 กิโลกรัม / ไร่ โดยให้กระเทาะเปลือก ก่อนปลูก นิยมใช้แรงงานคน เพื่อ ลดความกระทบกระเทือนของเมล็ดพันธุ์ จะได้ถั่วเมล็ดประมาณ 25 – 28 กิโลกรัม ควรปลูกทันทีหลังกระเทาะเปลือก

การปลูก
นำเมล็ดพันธุ์ปลูกในแปลงโดยหยอด 3 – 4 เมล็ดต่อหลุม ให้ระยะห่างระหว่างต้น 15 ซม.ระหว่างแถว 20 ซม.


การให้น้ำ
ปลูกเสร็จควรให้น้ำตามร่องทันที โดยให้น้ำ 2/3 ของความสูงของร่องน้ำ ไม่ควรท่วมหลังแปลง จะทำให้ดินแน่นทึบ และเมล็ดเน่าเสียได้
เทคนิค หลังการให้น้ำในครั้งแรก ควรตรวจสอบความงอกและเว้นระยะห่างการให้น้ำจากครั้งแรกนี้ไป 20 – 25 วัน เพื่อไม่ให้ถั่วเจริญเติบโตทางด้านความยาวของข้อปล้องเกินไป ทำให้ถั่วลงเข็มได้ไม่เต็มที่ หากข้อปล้องยืดยาวเกินไปควรพูนโคนต้น สามารถเพิ่มผลผลิตได้ หลังจากนั้นถั่วจะออกดอก ในช่วงนี้ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ตรวจสอบความชื้นในดิน อย่าให้ถั่วขาดน้ำจนถึงเก็บเกี่ยว
การควบคุมวัชพืช
วัชพืชเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ผลผลิตลดลง ควรควบคุมและกำจัดวัชพืช หลังปลูก 15 – 25 วัน ก่อนถั่วออกดอก โดยแรงงานคน ใช้เสียมหรือจอบ หรือใช้สารเคมี พ่นก่อนวัชพืชงอก เช่น อะลาคลอร์ เป็นต้น

การเก็บเกี่ยว
อายุการเก็บเกี่ยวของพันธุ์ ไทนาน 9 ประมาณ 105 –120 วัน อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเช่น ภูมิอากาศ ซึ่งระยะเก็บเกี่ยวทำได้หลายวิธี เช่น การนับอายุ การสุ่มถอน แล้วสังเกตสีเปลือกด้านในเมื่อถั่วลิสงแก่เต็มที่สีเปลือกด้านในจะมีสีน้ำตาลถึงน้ำตาลดำ โดยสุ่มถอนทั่วแปลง 10 จุด / ไร่

การปลิดฝัก
เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วไม่ควรนำถั่วมาสุมกองไว้ ให้มัดรวมกันเป็นมัด หงายด้านที่มีฝักขึ้นผึ่ง รอปลิดฝัก ใช้มือปลิดฝักทีละฝัก ควรสังเกตถั่วเน่าเสีย มีแมลงเจาะทำลาย ถั่วลีบ ไม่ควรปลิดรวมกัน ควรแยกแล้วนำไปทิ้งหรือทำปุ๋ย จากนั้นนำถั่วที่คัดเลือกแล้วไปตากแดดหรือผึ่งลม ควรตากบนพื้นซีเมนต์ หรือพื้นที่ที่แห้ง แล้วเกลี่ยให้บางสม่ำเสมอ ไม่ควรหนาเกิน 5 ซม. ตากซ้ำ 4 – 6 วัน แล้วแต่ความยาวช่วงแสงและ พื้นที่ตาก ลดความชื้นให้เหลือ 8 % ตรวจสอบความชื้นโดยแกะเปลือก ดูเมล็ดให้เปลือกหุ้มเมล็ดหลุดร่อนออกได้ สามารถใส่กระสอบเก็บไว้รอจำหน่ายผลผลิตได้
ข้อมูลนี้เป็นการเขียนจากประสบการณ์ล้วนๆครับ แต่สภาพพื้นที่ ดิน แต่ละที่ไม่เหมือนกัน ต้องปรับใช้อีกทีแล้วแต่สภาพครับ ยังไงเรื่องถั่วๆๆ เราทำเป็นเรื่องกล้วยๆได้ครับ .....เหอะๆๆๆ ขอต้อนรับสู่ครอบครัวถั่วลิสง ครับ
12 มกราคม 2553
ชีวิตในช่วงเรียน ไม่ต่างอะไรกับชีวิตที่ตื่นขึ้นมาแล้วรู้ว่าตัวเอง ยังอยู่บนโลกใบนี้ ไม่ได้ตั้งใจเรียน กินเหล้า เม้าท์กับเพื่อนๆ เฮฮาปาตี้ร์ไปวันๆ (แต่ตอนสอบ เก็บตัวยังกะไปแข่งโอลิมปิก) และก็จบมาได้จริง กับ วทบ.เทคโนโลยีการเกษตร ที่ฟังดูแล้วเหมือนๆจะเก่งทางด้านเครื่องจักรกล ทันสมัย แต่ที่ไหนได้คือรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับการเกษตรแต่ไม่เก่งสักอย่าง เหอะๆ ไม่ได้หวังอะไรมากมาย วิธีการต่อไป คือการหางาน ผมใช้วิธีการเดินห้าง (เกี่ยวไรวะ) ก็ไปตามร้านหนังสืออ่ะดิครับ......ดูหนังสือเกี่ยวกับการเกษตร และหนังสือสมัครงาน หน้าโฆษณาน่ะมันมีรับสมัครงานที่ดูเหมือนว่า เราจะทำได้ว่างั้น อย่าลืมพกปากกากับเศษกระดาษไปด้วย จดตำแหน่งที่รับสมัคร ที่อยู่ อย่าอ่านประสบการณ์และอย่าสนใจรายละเอียดมาก เพราะถ้าอ่านรายละเอียดมากๆเราจะขาดคุณสมบัติทันที ....... อันนี้จริง เสร็จสรรพก็ออกมาร้องคาราโอเกะที่ห้าง มักตั้งใกล้ๆ เครื่องเล่นเด็กๆ สัก 5 เพลง กลับบ้านเตรียมเอกสาร สมัครงาน เอาทุกอย่างที่ได้มา(ขนาดจบนักธรรมเอกยังสำเนาด้วย.....ไม่เห็นเกี่ยว)ส่งตามที่อยู่ สมัครงาน ไปพร้อมๆกัน ทำอย่างนี้ไม่เกิน 3 วันมีโทรศัพท์ติดต่อกลับให้สัมภาษณ์งาน บริษัทไหนผ่านเราตกลงทันทีและจะแอบลามาสัมภาษณ์กะบ.อื่นๆด้วย จนกว่า จะถูกใจ ........................................................................
ไม่ถูกใจก็ต้องทำ วทบ.เทคโนโลยีการเกษตร เริ่มทำงานได้เงินเดือนตั้ง 4500 บาท....เดือนแรกโทรกลับบ้านว่าจะกลับไปทำนาดีกว่า (เหนื่อยอ่ะ) 5555 แต่เด็กเกษตรมักจะพกคำว่า อดทนมาด้วยเสมอ.........อดทนจนวันนี้ผมมารู้จักถั่วลิสงเกือบๆ 7 ปี ทดลอง วิจัย ทำงานกับชุมชน เกษตรกร ด้วยความสุข ....... และคงไม่ทิ้งถั่วลิสง ที่บ่มเพาะในจิตใจผมแล้ววันนี้.................................................................