พีนัทบอสบล็อกกลับมาแล้วครับ

พีนัทบอสบล็อกกลับมาแล้วครับ

ถั่วลิสงเป็นพืชที่ควรหมุนเวียนในระบบปลูกพืชของไทย

ยินดีต้อนรับกลับบ้าน เรื่องราวในบล็อกจะถูกจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ ร่วมสร้างชุมชนออนไลน์คุณภาพ
28 ธันวาคม 2554
      ไม่ตั้งชื่อเรื่องนะครับ วันนี้ตั้งใจมาเขียนเรื่องส่งท้ายปี เพราะงานที่ยุ่งเหยิง พร้อมกับ สมาชิกใหม่ในครอบครัว ที่รอวันเติบโตเป็นคนที่ใช้ชีวิตแบบธรรมดาในสังคม ผมหวังแค่นั้น ปีหน้าผมจะเปลี่ยนเรื่องราวเล็กๆ ในบล็อกเป็น ชุมชนออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เอาเป็นว่าขออำนวยอวยพร ให้พี่น้องเกษตรกร พ่อค้า แม่ขาย นักธุรกิจ นิสิต นักศึกษา ท่านผู้มีใจรักในการเกษตร ทุกท่าน จงประสบพบเจอในสิ่งดีๆ ในปีใหม่ พรอันใดประเสริฐ จงเกิดกับท่านและครอบครัว......เรื่องร้าย ๆ ในปีนี้ 2554 ถือเป็นบทเรียน เวลายังคงหมุนเวียนเปลี่ยนผ่าน ทั้งหมดหยุดอยู่ที่ใจ ขอให้เข้มแข็ง สู้ๆ ด้วยใจที่ทรนง สวัสดีปีใหม่  2555 ครับ!!!!
       เรื่องที่จะมาบอกกล่าวกันวันนี้คงเป็นความคิดเห็นส่วนตัว ที่คิดว่าปีนี้ถือว่า เป็นวิกฤติของถั่วลิสงอีกปี เกษตรกรส่วนใหญ่แข็งขัน ทำนาปรัง กันหมด จนพื้นที่ถั่วลิสงหายไปจากสารบบ นาปรังทำลายพื้นที่ปลูกถั่วลิสงไปมาก ผมใช้คำว่าทำลาย เพราะ การทำ ต้องขังน้ำในที่นา ไม่ให้ต่ำกว่า 5 ซ.ม. ถึงจะได้ผล ส่งผลให้พื้นที่ข้างเคียง ไม่สามารถปลูกถั่วลิสงได้ สมมุติผมจะปลูกถั่วลิสง สัก 3 ไร่ แต่เพื่อนเกษตรกร ข้างเคียงผม ทำนาปรังกันหมด ผมก็จบเห่!!!!! โดยเฉพาะหลายเขื่อน มีน้ำเต็มความจุ ชาวนาทำนากันเต็มแทบทุกพื้นที่ จนมองไม่เห็นถั่วลิสงเหมือนแต่ก่อนมา น่าเป๋นห่วง มากครับ หากไม่มีหน่วยงาน หรือบริษัทเอกชน มาช่วยกู้วิกฤติในครั้งนี้ ผมว่ามืดมิดดับสนิทแน่นอน ต้องมานั่งกินถั่วลิสงจีน เวียดนาม อินเดีย พม่า เผลอๆ ก๋วยเตี๋ยวต้มยำอาหารโปรดของผมยังต้องใช้ถั่วลิสงจากเมืองนอก...ราคาก๋วยเตี๋ยวต้มยำไม่ไปไกลถึง ชามละ 70 บาทเหรอครับท่าน....!!!!!!!!

26 ตุลาคม 2554
วันนี้นั่งรถผ่าน บริษัทแห่งหนึ่งซึ่งรับซื้อถั่วลิสงฝักแห้งใหญ่ที่สุดในอิสานครับ เห็นป้ายติดว่า "จำหน่ายเปลือกถั่วลิสง" ผมก็งงว่ามันมีเยอะขนาดที่ต้องติดป้ายขายกันเลยหรอ ตัดสินใจเลี้ยวเข้าไปถามแล้วซื้อมาดู ได้ความดังนี้ครับ เปลือกถั่วลิสงของเค้าขายเป็นปริมาณ เพราะถ้าชั่ง กิโลกรัมถือเป็นการเอาเปรียบคนซื้อเนื่องจากถั่วลิสงเค้าเอาไว้กลางแจ้ง ตากแดด ตากฝน เมื่อตากฝนถั่วก็มีความชื้นน้ำหนักก็เยอะ  จึงขายเป็นปริมาณ เอาแบบแฟร์.....(ยกนิ้วให้ครับ) ราคาค่างวดอยู่ที่ กระสอบ ละ 35 บาท 3 กระสอบ 100 บาท ซื้อเป็นรถก็ขาย รถหกล้อละ 5,000  บาท หรือ 12 ตัก รถตักอ่ะครับ ผมเลยถามว่าถ้าคิดเป็นกิโลตกกิโลกรัมละเท่าไหร่ คำตอบคือ บาทกว่า ถือว่า ถูกมากครับ เพราะเปลือกถั่วลิสงสามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ทำปุ๋ย ทำวัสดุปลูก บดหยาบเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้องยังได้ บำบัดน้ำเสีย ผมลองค้นในอาจารย์ "กู(เกิ้ล)" ถึงปริมาณธาตุอาหารต่างๆได้ความตามดังนี้ครับ

ปริมาณธาตุอาหารของวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
  วัสดุ                                        N (%)     P (%)    K (%)     Ca (%)     Mg (%)
เปลือกถั่วลิสง                            1.50       1.59       2.68        10.25      0.94
ตอซังถั่วลิสง                             1.05       0.16       0.55        1.12        0.56
มูลค้างคาว                                2.10     13.89       1.10        1.30        0.90
*ที่มา : http://www.research.cmru.ac.th/ris/resin/arc/I-AGR-3-51.pdf

ผมลองเทียบกับมูลค้างคาว ซึ่งถือว่าสุดยอดของปุ๋ยอินทรีย์ เห็นได้ชัดว่า เปลือกถั่วลิสงมีธาตุอาหารบางธาตุมากกว่ามูลค้างคาวโดยเฉพาะธาตุรองอย่างแคลเซียม สูงมาก  ถามต่ออีกว่า ส่วนใหญ่ซื้อไปทำไรกัน อันดับหนึ่ง ผสมเป็นดินปลูกครับ ทดแทนขุยมะพร้างซึ่งมีราคาแพงกว่า โดยเฉพาะ ชวนชมใช้เป็นดินปลูกได้ดีมาก  ถามต่ออีก มีเยอะไหม(เหมือนจะซื้อเหมาเค้าอย่างนั้นล่ะ) คำตอบคือ หลายร้อยตัน โห 1 ตัน เท่ากับ 1,000 กิโลกรัม หลายร้อยตันนั่นคือมีเป็นแสนๆกิโลกรัม รายได้ตรงนี้ หลายแสนหลายล้านบาททีเดียว สุดยอดครับ
      มุมมองที่ผมลงเรื่องนี้อยากให้เห็นถึงความสำคัญของวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร ที่หลายๆคนมองข้าม ดูไร้ค่า หากศึกษาและทำความเข้าใจ สิ่งรอบๆตัวเรามีค่าเสมอ ดีกว่า มองสิ่งที่อยู่ไกลตัวเรา ฝันอยากเหยียบดาวที่งดงามแต่ไม่เคยมองพื้นดินที่ตัวเองทำมาหากินและเหยียบย่ำอยู่ทุกวันเราเลย!!!!!!!
(เด่วอัพภาพลงให้นะครับ...ไม่มีเครื่องมือ)
01 ตุลาคม 2554



   
       วันนี้ไปซื้อของที่ห้างค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุด คงรู้กันนะครับ ผมชอบไปเดินดูราคาสินค้าเกษตรที่นี่มาก เพราะจะมีสินค้าเกษตรที่มาจากทุกมุมโลกจริง ๆ อัพเดทข้อมูลทุกอาทิตย์ ผมว่าจะลงเรื่องนี้นานแล้ว แต่เพิ่งมีโอกาสลงข้อมูล
วันนี้นำเสนอ ถั่วลิสง อิน ซุปเปอร์ส่ง (Peanut in Ma.....o) เพราะผมตกใจมากที่เห็นราคาในร้านค้าปลีกที่่ผมคิดว่า ถั่วลิสงที่นี่ราคาดีที่สุด
              ถั่วลิสงคิดว่าเป็นถั่วชนิดรอง นะครับเพราะเมล็ดใหญ่พิเศษน้อยกว่าเมล็ดใหญ่ กิโลกรัมละ 95 บาท  ....OHHHH........แม่เจ้า แพงชนิดที่ว่าทำเอาผมอึ้ง นึกคิดอยากซื้อเครื่องกระเทาะมาส่งให้ร้านค้าส่งแห่งนี้จัง แต่เข้าใจเพราะจริงๆไอ้ที่ใส่กะละมังนั่นมันขายปลีก ขาวสะอาดตาเป็นถั่วลิสงเมล็ดโตมากๆๆ ราคาพุ่งไปโน่น 110 บาทต่อกิโลกรัม  ถัดมาใกล้ๆ กัน ราคาของถั่วลิสงยี่ห้อของเค้าเองนั่นละ่ครับ ราคาเฉลี่ย  500 กรัม ราคา 32.50 บาท กิโลกรัมละประมาณ 65 บาท ต้องบอกว่า เมล็ดเล็กได้ใจครับ  แต่ก็โอเคครับ ราคานี้ใช้เพื่อเป็นส่วนประกอบการการค้าขายแปรรูปได้ ถัดมาอีกชั้นเป็น ขนาด 5 กิโลกรัม ขาย 320 บาท ยังแพงอยู่ดี ตก กิโลกรัมละ 64 บาท ถือว่าถั่้วลิสงอยู่ในช่วงขาขึ้นจริงๆ
              ผมเอาเรื่องนี้มาลงเพราะให้ดูราคาจากต้นทางมาถึงปลายทางว่า พลัส++++กันไปเท่าไหร่ ยังไง แต่ผมว่าเราๆท่านๆที่ทำเกษตรกับดิน กับเจ้านายที่ทำเกษตรบนเครื่องจักร รายได้มันต่างกันลิบลับ .........เช่นนี้เอยยยยยยย.....***********
15 กันยายน 2554
           
                               ผมเป็นคนนึงที่ชอบเดินทางไปมาหลายจังหวัดในภาคอิสาน เนื่องจากโดยส่วนตัวชอบท่องเที่ยว โดยเฉพาะวัดวาอาราม แหล่งอาหารไปเสาะหามาจนน้ำหนักตัวขึ้นมาแบบชนิดที่ว่า อวบระยะสุดท้าย ทั้งเรื่องงานที่ตอนนี้มีภาระที่เพิ่มขึ้น จึงเห็นหลายๆแหล่งปลูกถั่วลิสงฤดูฝน ปีนี้แถบอิสานพื้นที่ปลูกลดลง มากทีเดียว บางหมู่บ้านที่ผมเคยเห็น พื้นที่กลายเป็นไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลัง และสวนยางพาราไปเกือบทั้งหมด บางหมู่บ้านทิ้งพื้นที่ว่างเปล่า สอบถามมาได้ความว่า พื้นที่ปลูกถั่วลิสงฤดูฝน ในแถบอิสานส่วนมากเช่าปลูก ไม่ใช่ที่ดินตัวเอง ปีนี้เจ้า่ของที่ดินไม่ให้ปลูกเพราะเตรียมลงยางพารา ปาล์มที่คิดว่าปลูกไม่ได้ จึงไม่ยอมให้เช่า ทั้งเกษตรกรเองไม่มีเมล็ดพันธุ์ ทั้งฝนที่กระหน่ำตั้งแต่ต้นพฤษภาคม จนถึงวันนี้ยังอ่วมทุกภาคในประเทศไทย เป็นสาเหตุหลักๆ ที่พื้นที่ปลูกหายไป ส่วนพื้นที่ที่ยังคงเหลือ ต้นถั่วปีนี้เรียกว่า งามจับใจ สูงชะลูด เขียวขจี เพราะ น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ กำไรและรายได้ดีแน่นอน (ความหวังของเกษตรกร) แต่ไม่นานสิ่งที่ตามมาคือ เมื่ออายุถั่วใกล้เก็บเกี่ยวหรือประมาณ 3 เดือน  ต้นถั่วที่เคยเขียวขจีกลับเริ่มเน่าเปื่อย เพราะน้ำท่าที่ดูเหมือนว่าจะดีเกินไป โรคใบจุด ราสนิม จัดมาเต็มชุด เกษตรกรตัดสินใจถอนทันทีทั้งที่อายุยังไม่ครบ.....อะไรตามมา..??????
             ถั่วที่ยังไม่ถึงเวลาเก็บเกี่ยวแล้วเก็บก็จะได้เมล็ดที่ยังไม่สมบูรณ์เต็มฝัก เปอร์เซ็นต์กระเทาะต่ำ.... ถั่วโป๊ะ..(อิสาน)นั่นเอง....เก็บเกี่ยวมาแล้วตากที่ไหน...ฝนตกทั้งวันทั้งคืน เกษตรกรต้องเอาไว้บนบ้าน พึ่งรอให้มีแดด แต่ถั่ว 4 ไร่ ถ้ายืดพื้นที่ก็ประมาณ 80 เมตรคูณ 80 เมตร ตากบนบ้า่นแค่ไม่ถึง 80 ตารางเมตร กองหนามาก ๆ ถั่วเริ่มจะเน่าเสียมีรา เสี่ยงตัวการปนเปื้อนอะฟลาท็อกซิน สารพิษที่สร้างขึ้นด้วยเชื้อราแอสเพอจิวรัสฟลาวัส (นี่พยายามเขียนเต็มที่แล้วนะครับ) ช่างเถอะครับ ให้รู้แต่เพียงว่าเป็นสารพิษที่เป็นอันตรายต่อตับ เป็นสารก่อมะเร็งอีกตัวหนึ่ง ที่น่ากลัว หากขืนเอาถั่วลิสงพวกนี้ไปบริโภคล่ะก็จะเป็นอัึนตราย.....น่าเป็นห่วง....ปัญหาที่ตามมาคือ เมื่อพื้นที่ปลูกลดลง คนอยากซื้อเพิ่มขึ้น ปัญหาพื้น ๆ ทางเศรษฐศาสตร์ ที่ผมไม่เห็นใครแก้ได้สักทีในสินค้าเกษตรไทย เกิดจากแย่งซื้อโดยไม่คำนึงถึงคุณภาพ คือซื้อถั่วที่มีความชื้นสูงมาก ถั่วต้มผมไม่นับนะครับ  ถั่วแห้งหรือถั่วที่มีคุณภาพความชื้นต้องไม่เกิน 9 % คือเปลือกหุ้มเมล็ดแทบร่อนออกได้ครับ แต่พ่อค้าเห็นเป็นเช่นนั้นไม่ ...... ซื้อหมด เพราะถ้าไม่ซื้อ คนอื่นก็ซื้อ จึงทำให้ถั่วลิสงในฤดูฝนขาดคุณภาพทุกอย่าง ทั้งเปอร์เซ็นต์กระเทาะ ทั้งความชื้น  ไม่ได้สักอย่าง
                    ฟ้าฝนทุกวันนี้เอาแน่เอานอนไม่ได้เมื่อไหร่ไทยจะมีหน่วยงานพยากรณ์อากาศเกษตรอย่างเป็นทางการเหมือนๆหลายประเทศที่เขาเด่นทางการเกษตร ไม่ใช่ มีแต่เมฆเป็นส่วนมาก ฝนฟ้าคะนองกระจาย ฝนตกเป็นหย่อมๆ พะนะโอ๊ย....เบี่ย..เมืองไทยเด้.....บ่นไปทุกวันตามประสาคนรากหญ้าที่นับวันจะเป็นพืชผลส่วนใหญ่ในเมืองไทยที่รอวันได้ แสงแดด อาหาร จากยอด ใบ ผ่านลำต้น สู่หัวใจของพืชทุกชนิดอย่าง ราก....บ้างคร๊าบบบบบกระพ้ม!!!!!!!!!

06 กันยายน 2554


          สืบเนื่องมาจากผมได้รับอีเมล์จากผองเพื่อนเกษตรกรที่เข้ามาชมบล็อกผม เรื่อง แจ๊บ แล้ว สนใจสอบถามมามากมาย...ผมจึงขออธิบายและลงรายละเอียดเรื่องนี้เพิ่มเติมนิสสส...นึงครับ เดิมทีผมไปเห็นแจ๊บแถวๆโคราชครับ  แล้วเ็ห็นตัวเป็น ๆ จากอาจารย์จ๋า ผู้ซื้อมาฝากให้ผม ตัวนึง ซึ่งผมใช้ปลูกข้าวโพด ซึ่งวัดระยะที่ 25 ซม. ซื้อมาตอนนั้นราคาประมาณ 650 บาท ซึ่งผมทดลองปลูกแล้วได้ผลดี สะดวกรวดเร็วขึ้น ผมจึงเอามาลองปลูกถั่วลิสงดู ซึ่งจริงๆแล้วใช้ปลูกอะไรก็ได้นะครับ ที่เป็นเมล็ดปลูก หรือ หยอดเป็นหลุม จากที่ได้ถือว่าผ่าน.......
          ผมยังมีโชคดีผมมีโอกาสร่วมงานกับคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน ภาควิชาพืชไร่นา  ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ผมไม่ค่อยถนัด จึงขอแค่เก็บข้อมูลโดยอย่าคุยเรื่องสถิติและขอความคิดเห็นจากผมเพราะผมไม่ทราบได้!!!!!!!!!!555...อาจารย์บอกอาจารย์ใช้มานานแล้ว...ไอ้แจ๊บเนี่ยวัดระยะที่ 20 ซม.ด้วย ราคาถูก ใช้ได้ดี อาจารย์ให้ผมมาหนึ่งโหลครับ แถวบ้านเรียก ได้มาหลายอีหลีแหมะ !!!!...โห...คราวนี้แหละ.....เอ๊ยยยปลูกกันสนั่น  ผมลองปลูกถั่วเมื่อกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา  10  ไร่ คน 13 คน ปลูก 3 โมงเช้าเสร็จ 3 โมงเย็น กินเลี้ยงต่อถึง 3  ทุ่ม...อ่ะนะมีบ้างครับ5555.....ทุ่นระยะเวลามากครับ จากปกติ ปลูกโดยใช้คนแทงหลุม นั่นคือ 2 คน น่าจะอยู่ 1 ไร่ หรือเต็มที่ 1.5 ไร่ แต่ถ้าใช้แจ๊บ 2 คน ได้ถึง 3 ไร่ครับ ยิ่งถ้าใช้เก่งๆ  คนนึงปลูกแบบชิวๆ 1.5 ไร่ สบายๆครับ เป็นประโยชน์ครับ
             ตอนนี้มีเมล์มาอยากเป็นเจ้าของแจ๊บเยอะมากๆครับ  ผมจะลองทำดูก่อนนะครับได้ผลยังไงอาจจะมาแบ่งปันเพื่อนๆนะครับ ติดตามวิธีการใช้ในบล็อกผมนะครับ ขอเวลาไปยืมกล้องวีดีโอเพื่อนมาถ่ายให้เพื่อนๆ ดูแล้วกัน...คร๊าบพ้มมมม   (เครดิตภาพถ่ายจาก: น้องป้อน)
02 กันยายน 2554


วันนี้มีโอกาสมานั่งหน้าคอมพิวเตอร์อีกครั้งเพื่ออัพบล็อก แต่ผมต้องสะดุดกับ วารสารเศรษฐกิจการเกษตร ปีที่ 57 ฉบับที่ 652 ที่รายงานสภาวะ สถิติต่างๆ ที่เกี่ยวกับพืชต่างๆ พลิกไปพลิกมาเห็นข้อมูลถั่วลิสงที่ผมนั่งอ่านจนจบสรุปได้ว่า สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดคะเนว่า ถั่วลิสงปี 2553 เมื่อเดือนธันวาคม 2553 มีพื้นที่เพาะปลูก 183,845 ไร่ มีผลผลิต 45,509 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 248 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนความเคลื่อนไหวในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 พบว่าราคาถั่วลิสงสด เฉลี่ย 19.16 บาท/กิโลกรัม ถั่วลิสงแห้ง ราคา เฉลี่ย  20.42 บาท/กิโลกรัม ราคาขายส่งตลาดกรุงเทพฯ ถั่วเมล็ดชั้นดี ราคา 52.50 บาท/กิโลกรัม ชนิดรอง 47.34 บาท/กิโลกรัม กระทรวงเกษตรสหรัฐ รายงานภาวะการผลิตถั่วลิสงโลก  2553/54 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2554 มีผลผลิต 37.71 ล้านตัน นั่นคือ 37,710 ล้านกิโลกรัม ป๊าด.....เยอะจัด รู้มั๊ยครับ ประเทศไหนปลูกมากที่สุด......ยักษ์ใหญ่...อย่างจีนไงครับพี่น้อง จะบอกว่า ผลผลิตถั่วลิสงจีน เป็น 1 ใน 3 ของผลผลิตทั้งโลกอ่ะใหญ่จริงอะไรจริงนะเนี่ยจีนอ่ะ...!!!!!!!!!  อ่านไปสักพัก ต๊กใจ ไหงมีรูปจากบล็อกผมมาโผล่ในวารสารเศรษฐกิจการเกษตร รูปนี้ผมถ่ายด้วยกล้องมือถือ  ลงเป็นเรื่องต้นๆของบล็อกผมครับ   รู้สึกว่าถูกขโมยซีน.....แหมๆๆๆ น่าจะให้เครดิตเค้ามั่ง ลงชื่อเวบไว้ใต้รูปก็ดีนะครับ...แต่ก็แอบดีใจที่ยังมีคนเข้า่มาดูเวบผมทั้งภาครัฐภาคเอกชน งั้นผมจะตั้งใจมาอัพบล็อกบ่อยๆๆแล้วกันนะครับ........วันนี้ไปล่ะครับ
01 เมษายน 2554
  โลกของเราวันนี้เป็นยังไงน๊าๆๆๆๆๆ ญี่ปุ่น โดนแผ่นดินไหวที่ผมไม่คิดว่าภาพที่เห็นจากโสตประสาทจะเป็นภาพที่เกิดขึ้นจริงๆ เหมือนดูหนังยังไงยังงั้น แต่ต้องยอมรับกับมันนะครับ ขอไว้อาลัยและแสดงความเสียใจแด่เพื่อนๆมนุษย์และชาวญี่ปุ่นด้วยครับ แต่ยังไม่ทันไรขณะที่ผมนั่งพิมพ์อยู่นี้.....พี่น้องทางภาคใต้ของเราก็เจอฝนกระหน่ำน้ำท่วมหนักหลายจังหวัด ยังไม่พอ ยังเกิดดินโคลนถล่มทับผู้คนพี่น้องคนไทยเสียชีวิตและสูญหายหลายคน ขออำนาจพระรัตนตรัยจงปกป้องคนไทยทุกคน ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ เป็นกำลังใจให้พี่น้องที่ประสบภัยให้ผ่านพ้นช่วงวิกฤตโดยเร็ววัน.........สาธุ

   แหมหัวข้อวันนี้เป็นเมล์ที่ส่งมาสดๆ ร้อน ๆ จากโน่น โคราช สืบเนื่องมาจาก พี่น้องเกษตรกร มือใหม่ที่เพิ่งปลูกถั่วลิสงจะยังไม่รู้ว่า เวลาเก็บเกี่ยวถั่วลิสงให้ได้ผลผลิตสูงสุดและเหมาะสมที่สุดตอนไหนยังไง มีข้อสังเกตตรงไหนบ้าง วันนี้จะมาอธิบายจากประสบการณ์และรวมความรู้ทางวิชาการมาไว้ให้ครับ
   ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า ถั่วลิสงที่เราปลูกเป็นพันธุ์อะไร เพราะ อายุการเก็บเกี่ยวของแต่ละพันธุ์ก็จะแตกต่างกันออกไป ขออนุญาตเอาข้อมูลอายุการเก็บเกี่ยวพันธุ์ที่นิยมปลูกจากกรมวิชาการมาอ้างอิงให้นะครับ
   พันธุ์ไทนาน 9 อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 95-110 วัน   พันธุ์ขอนแก่น 5 อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 90-105 วัน พันธุ์กาฬสินธุ์ 1 อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 90-100 วัน  พันธุ์กาฬสินธุ์ 2 อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 90-100 วัน ส่วนพันธุ์อื่นลองค้นหาในเวบของกรมวิชาการดูนะครับ  เมื่อเราทราบอายุการเก็บเกี่ยวแล้ว เราต้องบันทึกวันที่เราปลูกไว้นะครับ อาจจะมีปฏิทิน ประจำสำหรับปฏิบัติงานถั่วโดยเฉพาะก็ดีครับ การนับอายุ แบบนี้ก็เป็นวิธีหนึ่งครับ แต่บางทีต้องดูสภาพภูมิอากาศด้วย หาก ปีไหนอากาศหนาว มาก หนาวนาน อายุการเก็บเกี่ยวจะยืดออกไป เพราะอะไรครับ รู้ป่ะ.....เพราะพืชเกือบทุกชนิดจะชะงักการเจริญเติบโตเมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ถั่วลิสงเราก็เลยมีระยะเวลาที่ยืดออกไป
   อ่ะ 1 วิธีแล้วนะครับ การนับอายุ วิธีต่อไปคือการสังเกตต้นถั่วลิสง ถั่วลิสงที่ใกล้จะเก็บเกี่ยวหรือครบอายุเก็บเกี่ยว  เราจะสังเกตได้ว่า ต้นถั่วลิสงจะโทรม ต้นไม่สวย ใบแห้งกรอบจากข้างล่าง หรือมีโรคราสนิม ใบจุด แต่อย่าลืมนับอายุก่อนการสังเกตการเกิดโรคนะครับ หากอายุยังไม่ถึงแล้วแสดงอาการเกิดโรคพวกนี้แสดงว่า ไม่ใช่ล่ะ ต้องหายาเชื้อรามาฉีดพ่นนะครับ เพราะอะไรรู้ป่ะ เปรียบเทียบกะผู้หญิงสาวๆแข็งแรง สวย น่ารัก เมื่ออายุมากขึ้น (ไม่อยากพูดว่า....แก่) ก็ดูไม่สวย โทรมๆ เป็นโรคนั้นโรคนี้ สรุปคือ เมื่อถั่วลิสง นำอาหารไปเลี้ยงฝักเลี้ยงผลผลิต สุกแก่ เต็มที่ ต้นแม่ก็ต้นโทรมเป็นธรรมดา ง่ายต่อการเข้าทำลายของเชื้อราเชื้อโรคต่างๆ แต่อย่าต๊กใจนะครับเพราะไม่มีผลต่อผลผลิตครับ
  อ่ะผ่านไปอีก 1 วิธี อีกวิธีเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด หลังจากนับอายุแล้ว ดูต้นถั่วแล้ว วิธีนี้คือ  สุ่มถอน การสุ่มถอนที่ดีควรเดินทะแยงในแปลงถั่วลิสงแล้วสุ่มถอน 3-5 จุดต่อแปลง หรือ 10 จุดใน 1 ไร่ จะทำให้ได้ข้อสรุปที่ดี เมื่อสุ่มถอนขึ้นมาแล้ว ให้เลือกปลิดฝักที่มีความสมบูรณ์ฝักเช่นไม่มีแมลงเจาะ ไม่อ่อนเกินไป พูดง่ายๆ เอาถั่วที่สามารถไปใช้ประโยชน์ได้นั่นล่ะครับ หลังจากนั้น นับฝัก แล้วแกะเปลือกดู ถั่วลิสงที่แก่เปลือกข้างในจะมีสีน้ำตาลไปถึงดำ หากแก่มากกว่า 70 เปอร์เซนต์ หรือ ใน 10 ฝักแก่ 7 ฝัก ชัวร์เก็บเกี่ยวได้เลยครับ
  วันนี้พอก่อนแค่นี้นะครับ เดี๋ยวต้องไปเตรียมซื้อปืนฉีดน้ำเที่ยวสงกรานต์ก่อนจะมาเก็บเกี่ยวถั่วลิสงพ้ม.....หลังสงกรานต์ครับบบบบ
29 มีนาคม 2554

          วันนี้มีเวลามานั่งจัดการกับคอมพิวเตอร์ มี่ซื้อมาเกือบ 3 ปี ไฟล์ รูป เพลง หนัง(การ์ตูน) สับสน ปนเปกันอย่างชนิดที่ว่า จะหาอะไร ต้องนั่งนึกก่อนว่า...เคยเห็นที่ไหนน๊าาาา....เพราะเวลาที่อยู่หน้าคอมไม่มาก     ก็อบไรไว้ที่ไหน มักจะลืมมมม.....
          จัดการคอมสักพัก เห็นภาพระบบน้ำที่ผมก็เพิ่งเคยเห็น ในเมืองไทย ครั้งแรก แต่ภาพพวกนี้เก็บไว้เกือบปีแล้วครับ พอดีมีโอกาสไปอบรมที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ที่ ณ วันนี้ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ระบบน้ำระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปแล้ว ผมมีโอกาสกลับไปอีกครั้ง เมื่ออาทิตย์ที่แล้วนี่เอง โห......แหล่งเรียนรู้ สาธิต ทุกระบบที่มีเลยครับ ซึ่งทางมหาวิทยาเกษตรศาสตร์เองได้ร่วมมือกับกรมชลประทาน ทำระบบน้ำสาธิตให้ดูเรียกว่า ดูได้ดูดีดูจนทำเองได้ ทุกขั้นตอน ทุกระบบมีครับ จึงอยากแนะนำเพื่อนๆพี่น้องเกษตรกรที่ผ่านไปมาแถว ๆ สกลนคร แวะไปเยี่ยมชมได้ครับ วันนี้มีภาพมาฝาก ด้วยครับ

17 มีนาคม 2554
     เรื่องโรคแมลงเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกที่พูดถึง สาเหตุมาจากในปีนี้มีการระบาดอย่างหนักในแปลงเพาะปลูกของผมเอง และภาคอิสานเกือบทุกพื้นที่ ดังนั้นผมจึงไปค้นข้อมูล และเอาประสบการณ์ตัวเองมาแชร์เพื่อเป็นความรู้ความเข้าใจในเรื่องเพลี้ยไฟและโรคยอดไหม้ มากขึ้นกว่าเดิมนะครับ
    ความรู้เรื่องเพลี้ยไฟและโรคยอดไหม้หาในโลกออนไลน์ก็พอมีครับ แต่ก็เป็นข้อมูลที่ก็อบๆกันมาของกรมวิชาการครับ  แต่เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้ครับ ซึ่งปัจจุบันต้องยอมรับการดื้อยาของแมลงศัตรูพืชเกิดขึ้นได้ง่ายมากเนื่องจากบางพื้นที่มีการใช้ยามากเกินความจำเป็น อีกทั้งยังใช้ยาตัวเดิม ซ้ำๆ ทำให้การระบาดรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกปี
   ปีนี้ถั่วลิสงถือว่าหนักหนาสาหัสกับเพลี้ยทุกชนิด เริ่มจากอากาศที่หนาวเย็นยาวนานมากกว่าทุกปีที่ผ่านมาทำให้ เพลี้ยอ่อนถั่ว ซึ่งเข้าดูดกินน้ำเลี้ยงยอดถั่ว ทำให้ยอดหยิกงอ ไม่ลงเข็มแล้ว
ยังเจอ เพลี้ยจั๊กจั่น ซึ่งก็ดูดกินน้ำเลี้ยงใต้ใบ ทำให้ใบมีลักษะเป็นปื้นไหม้ หนำซ้ำ ยังเจอ เพลี้ยไฟ ศัตรูหมายเลข 1 ในช่วงนี้ ซึ่งระบาดในช่วงฤดูแล้ง ฝนทิ้งช่วง เข้าดูดกินน้ำเลี้ยงในใบถั่ว ยอด ตาดอกแล้ว ยังเป็นพาหะ โรคยอดไหม้ (GBNV) ซึ่งสร้างความเสียหายให้ถั่วลิสง ชนิดที่เรียกว่า "ตายยกแปลง" มาแล้วหลายพื้นที่ 
  โรคยอดไหม้ต้องพูดว่าผมเจอโรคนี้ในปี 2549 นี่เอง ซึ่งเพิ่งพบเนื่องจากปรากฏการณ์ เอลนิญ่า ทำให้ฝนทิ้งช่วง เพลี้ยไฟระบาดอย่างหนักในพื้นที่หลายจังหวัดทางภาคอิสาน แปลงปลูกผมเองตายมากกว่า 60 % เกิดกับทุกช่วงอายุของถั่วลิสง โดยเฉพาะสองอาทิตย์หลังงอก  
   การสังเกตการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟ สังเกตที่ใบมีลักษณะด่าง ซีด เป็นกระลาย ใบแห้ง หยิกงอ บิด ซึ่งมักพบการระบาด หนักในช่วงฝนทิ้งช่วง ในปีนี้เองในบางพื้นที่ยังไม่มีฝนตกเลยแม้แต่ครั้งเดียว เป็นเหตุให้แมลงระบาดมากที่สุดในรอบหลายปี บริษัทยาต่างยิ้มร่า เมื่อยอดในปีที่ผ่านมาและปีนี้ยอดทะลุเป้า จนอดนึกไม่ได้ว่า เอาเพลี้ยไฟมาปล่อยในแปลงผมหรือเปล่าหว่า.......555 เดี๋ยวเจ้าของบริษัทจะมาทำร้ายร่างกายผมล่ะ ไม่หรอกครับ ต้องยอมรับกันก่อนว่า สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป มีผลทำให้การเกษตรเองต้องปรับวิธีการ กันแบบว่าต้อง ยกเครื่อง เป็นโอกาสของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องโชว์ฝีมือทดลอง วิจัย เพื่อให้การเกษตรไทยยังเป็นหัวใจสำคัญแหล่งอาหารโลกต่อไป 
  เพลี้ยไฟมาไม่ได้มาเปล่านะครับ เป็นพาหะนำโรคยอดไหม้มาด้วย โรคยอดไหม้ ผมค้นข้อมูลที่สามารถให้คำตอบและมีภาพประกอบให้ดูแล้วเข้าใจต้องไปที่เวบไซต์ของกรมวิชาการนะครับเด่วผมโพสต์ข้างล่าง ส่วนผมขออธิบายแบบบ้านๆ นะครับ ว่าลักษณะอาการตามที่เห็นว่า เมื่อถั่วลิสงได้รับเชื้อแล้ว จะแสดงอาหาร ยอดเหี่ยวโค้งงอ แตกช่อมาก ดอกหล่น อีกไม่นานก็จะตายยุบทั้งต้น ซึ่งบางทีจะเห็นชัดตอนเราให้น้ำ จะตายยุบเป็นแถบ โดยใบล่างสุดจะไหม้เหลือง ยอดยุบ ตายในที่สุด บางทีตายยกแถวก็มีครับ จนต้องร้องเพลง "มันต้องถอน" เพราะสงสัยว่ามันเป็นไรถึงพร้อมใจกันตายได้มากกว่าขนาดนี้ 
เรื่องการแก้ไขปัญหาหรือลดการระบาดได้ดีเท่าที่ผมสังเกตุสังกาด้วยสองตาคือ การเลื่อนวันปลูกมีผลที่น่าพอใจ อีกทั้งเราจะได้ไม่ต้องเพิ่งสารเคมี ซึ่งนับเป็นทางออกที่ดี คือวางแผนการทำนาโดยใช้ข้าวพันธุ์เบาในแปลงที่เราจะปลูกถั่วลิสง ซึ่ีงยังไงก็แล้วแต่เราควรปลูกถั่วลิสงในช่วงปลายตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ดีที่สุด หลายพื้นที่ปลูกปลายเดือนธันวาคม เจอการระบาดหนักกว่าแปลงที่อยู่ข้างๆกัน วิธีการปลูกเหมือนกันแต่ปลูกคนละวัน พบความแตกต่างของการระบาดโรคแมลงอย่างเห็นได้ชัด ส่วนสารเคมีที่ใช้ได้ดี คือ ฟิโฟนิล ชนิดน้ำ ฉีดพ่นเมื่อพบการระบาดของเพลี้ยไฟ พ่นซ้ำอีกสักสองสามครั้งทุก 3-5 วัน ช่วยลดจำนวนเพลี้ยไฟได้ดีครับ วิธีกลอีกวิธีผมถามท่าน ดร.ท่านนึงบอกว่า การใช้ระบบน้ำสปริงเกอร์ช้วยลดการระบาดของเพลี้ยไฟได้ เพราะเพลี้ยไฟมีปีกเหมือนนก เมื่อปีกถูกน้ำก็บินไม่ได้ครับและตายไปในที่สุด นั่นคือหากมีระบาดของเพลี้ยไฟแล้วฝนตกสักสองสามครั้ง ก็ช่วยให้อะไรๆดีขึ้นครับ อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยได้คือ การปลูกระยะชิดขึ้น อาจใช้ระยะปลูก 15 cm. ก็ได้ครับ







    ยังไงๆเราก็ต้องเรียนรู้และใช้ภูมิปัญญาที่มีอยู่ใช้ให้เกิดประโยชน์ เพราะผมยกย่องพ่อแม่พี่น้องเกษตรกรของผมในเรื่องการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาโดยตลอด การใช้สารสกัดอินทรีย์ก็ได้ครับ ต้องทดลอง ทดสอบนะครับ ดีกว่าปล่อยให้พืชที่เรารอคอยผลผลิตเสียหายไปต่อหน้าต่อตา เรียนรู้ร่วมกัน บูรณาการร่วมกันครับพี่น้องงงงงงงงงงงง.............
คำอธิบายรูปภาพครับ เรียงจากข้างบนลงมานะครับ
รูปที่ 1 (บนสุด)- นั่นล่ะครับ เพลี้ยอ่อนถั่ว(ยึ๋ย)
รูปที่ 2 - เพลี้ยจั๊กจั่นครับ ตัวเขียวๆๆ บินไวๆใช่เลย
รูปที่ 3 - ลักษณะการตายอันสาเหตุจากเชื้อ ไวรัส (GBNV)
รูปที่ 4 - ยอดเหี่ยวพับ ยุบ ตาย
รูปที่ 5 - ลักษณะการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟ ใบกระ ซีดเหลือง
รูปที่ 6 - การพ่นสารเคมีก็มีความจำเป็นหากพบการระบาด ฟิโฟนิลที่ผมใช้
รูปสุดท้าย (ล่างสุด) - ระยะออกดอกยังไม่เหลือครับ
22 กุมภาพันธ์ 2554
             สวัสดีครับพี่น้องเกษตรกรและผู้ที่สนใจในเรื่องการเกษตรโดยเฉพาะถั่วลิสง ที่ผมอยู่ร่วมกับมันมาเกือบๆๆ 10 ปี ก่อนอื่นผมต้องขออนุญาตชี้แจงเหตุที่ไม่ได้อัพบล็อก นำเสนอเรื่องราวต่างๆ ให้พี่น้องได้อ่านกัน เพราะ งานที่รุมเร้า ทั้งศึกนอก ศึกใน ยังกะกองทัพท่านโจโฉที่ยกมาตีเมืองท่านเล่าปี่ ใน สามก๊ก ยังไงยังงั้น เหนื่อยครับแต่ตราบที่ลมหายใจยังอุ่นๆ คงไม่มีอะไรให้ท้อครับ จริงป่ะครับพี่น้อง......(ไฮปาร์ค) เอาเป็นว่าจากนี้ไปผมจะนำเสนอเรื่องราวต่างๆๆต่อเนื่องกว่านี้นะครับ กราบขอ อภัย(มณี) มา ณ ที่นี้ด้วยครับ
              เกษตรกรส่วนใหญ่คงดูถั่วลิสงออกดอกไปเรียบร้อยแล้วนะครับ สิ่งที่อยากฝากเตือนพี่น้องในช่วงนี้คือ  สภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็น ลากยาวมานานเกือบสี่เดือน ความแห้งแล้ง จะทำให้ มีแมลงศัตรูพืชที่มาพร้อมๆ สภาพอย่างนี้ได้นะครับ เพลี้ยอ่อนถั่ว เพลี้๊ยจั๊กจั่น เพลี๊ยไฟ โดยเฉพาะเพลี๊ยไฟ ที่เป็นพาหะโรคยอดไหม้ ทำลายต้นถั่วได้ทุกระยะ ต้องระวังนะครับ หมั่นตรวจแปลงตอนเช้าๆ หรือ ตอนหัวค่ำ หากพบแมลงศัตรูพืชดังที่กล่าวมาแล้ว ควรใช้ยาฉีดพ่นนะครับ ยาที่ใช้ได้ดี เช่น ฟิโฟนิล หรือ อบาเม็กตรินก็เด่นครับ ใช้ได้ มิฉะนั้นอาจต้องหดหู่ใจกับต้นถั่วลิสงที่ใบแห้งกรอบ ยอดไหม้ตายลงทุกวันนะครับ วันนี้ผมไปเจอการระบาดของโรคยอดไหม้ที่กาฬสินธุ์แล้วเก็บภาพมาฝาก หากเกษตรกรท่านใดพบเจอลักษณะเหมือนภาพให้รีบฉีดพ่นยา นะครับ เดี๋ยวไปกระทบผลผลิตที่กำลังรอเก็บเกี่ยวอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้แล้ว เป็นกำลังใจให้เกษตรกรที่ประสบปัญหาด้วยนะครับ เฮ่ยยยยยยย.....เห็นแล้วอ่อนใจกับอนาคตถั่วลิสงในประเทศเราซะเหลือเกิ๊นนนนนนนนนนน......วันนี้ไปแล้วครับ