17 มิถุนายน 2553
การปลูกถั่วฤดูฝน
02:35 | Posted by
peanut |
แก้ไขบทความ


04 มิถุนายน 2553
ถั่วลิสง-ฤดูฝน-พระพุทธบาท-สระบุรี-ไปดูมาแล้ว
20:18 | Posted by
peanut |
แก้ไขบทความ
ชื่อเรื่องยาวเพราะจะได้อธิบายเนื้อเรื่องชัดเจนยิ่งขึ้น วันที่ 2 มิถุนายน 2553 ที่ผ่านมาผมออกเดินทาง พร้อมทีมงาน ไปเยี่ยมชมเทคโนโลยีการปลูกถั่วลิสงที่ใช้เครื่องปลูกแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งผมคุ้มค่ากับการเดินทางทริปนี้พอสมควร เพราะมีอาจารย์ระดับ ดร.เป็นวิทยากรที่ถามไรตอบได้ทุกคำถาม เรียกว่า ไขกันหมดก๊อกได้เลยครับ ท่านแรกเป็นปรมาจารย์ด้านปุ๋ยและสารปรับปรุงดิน ท่าน ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ปิยะ ดวงพัตรา อีกท่านนึงเป็นปรมาจารย์ด้านการปรับปรุงพันธุ์ ข้าวโพด เรียกว่า มือวางอันดับ 1 ครับ ท่าน ดร.ทวีศักดิ์ ภู่หลำ ซึ่ง ดร.ทวีศักดิ์ เป็นเจ้าภาพพาไปชมแปลงปลูก ทั้งข้าวโพดและถั่วลิสง แต่ผมขออนุญาตพูดเฉพาะเรื่องถั่วลิสงครับ ถั่วลิสงใน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เป็นการปลูกบนพื้นที่ที่เรียกว่านิคมที่มีการจัดสรรพื้นที่เป็นบล็อก สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ พื้นที่โดยทั่วไปเป็นดินหินโผล่ ซึ่งดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง พื้นที่ไม่สม่ำเสมอ การเตรียมดินถือว่า เกษตรกรเองเตรียมดินได้ดีมากครับ เพราะถ้าให้คนแถวบ้านผมไปทำคงจะไม่กล้าทำเพราะปนหินหลายขนาดมากๆ ทำยาก แต่สำหรับคนพระพุทธบาท...ชิว ชิว..ส่วนมากการปลูกเป็นการปลูกโดยไม่ยกร่อง ใช้เครื่องหยอดเมล็ดซึ่งผมยังไม่เห็นตัวเครื่อง เนื่องจากเกษตรกรยืมเพื่อนๆมาปลูก ถ้าซื้อราคาเครื่องประมาณ 25,000 บาท ใช้ติดรถแทรคเตอร์วิ่งหยอดเป็นแถวได้อย่างสบาย ระยะห่างระหว่างแถว 25 เซนติเมตร เครื่องจะโรยเป็นแถว ซึ่งจริงๆ สามารถตั้งระยะได้โดยเปลี่ยนจานหยอดได้ทุกระยะ เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงก็เหมือนๆกับเครื่องหยอดเมล็ดข้าวโพดนั่นเอง ที่พระพุทธบาทหรือแถบสระบุรี จะปลูกข้าวโพดกันเต็มพื้นที่ สุดลูกหูลูกตา มีถั่วลิสงบ้างนานๆที ซึ่งผมตื่นตาตื่นใจพอสมควรกับการเกษตรที่สระบุรี ที่พัฒนาไปไกลกว่าพื้นที่ทางอีสาน เรียกว่า ผมต้องเรียนรู้การปลูกถั่วลิสงกันใหม่เลยที่เดียว แตกต่างอย่างสิ้นเชิง ทั้งเทคโนโลยีการปลูก ทั้งการตลาด ซึ่งเครื่องหยอดเมล็ดประหยัดเวลาและแรงงานได้หลายเท่าตัว เพราะพื้นที่ที่ผมไปดูประมาณ 5 ไร่ใช้แรงงาน 2 คนใช้เวลาปลูกแค่ 3 ชั่วโมง...อึ้งเลยครับเพราะที่อิสาน 5 ไร่ ถ้าใช้แรงงาน 2 คนปลูกเท่ากัน ต้องใช้เวลาถึง 7 วันเลยที่เดียว (โห..ขนาดนั้นเลย) ต้องขอขอบคุณท่านดร.ปิยะ และ ดร.ทวีศักดิ์เป็นอย่างสูงครับที่ให้เกียรติและให้ความรู้กับผมและทีมงาน ส่วนอีกท่านคือ อาจารย์เจษฎา มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ผู้แนะนำสถานที่และร่วมเดินทางไปด้วยกัน ก่อนกลับผมแวะไปเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งมีน้ำน้อยมากๆ ครับ แต่บรรยากาศยังเป็นที่พึ่งยามเหนื่อยๆได้ดี แวะทานอาหารปลา ปู กุ้ง ร้านอาหารแถบๆเขื่อนซึ่งทริป นี้ต้องบอกว่า "สุโค่ยยยยยยย" ครับ....!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)